พาทุกคนมา ทำความเข้าใจ การใช้ยาปฏิชีวนะในสุกร ป้องกันปัญหาสุภาพสุกรในฟาร์ม เนื่องจากปัจจุบันยาปฏิชีวนะเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมากในวงการแพทย์ นำมาใช้เพื่อการรักษาดรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย แต่อย่างไรก็ตามก่อนจะใช้ยาปฏิชีวนะนั้นจะต้องทำความเข้าใจ และได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญเพราะหากใช้ไม่ถุกวิธีอาจเกิดผลข้างเคียงต่อสุกรในฟาร์ม เป็นสาเหตุให้อาการเจ็บป่วยนั้นมีการรักษาที่นานกว่าปกติ
ยาปฏิชีวนะคืออะไร
ยาปฏิชีวนะเป็นยาที่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ไม่มีฤทธิ์ต่อเชื้อไวรัส ไม่มีผลต่อโรคภูมิแพ้ จึงไม่ช่วยให้โรคติดเชื้อไวรัสหรือโรคภูมิแพ้หายเร็วขึ้นหรือมีอาการดีขึ้นแต่อย่างใด รวมทั้งไม่ช่วยป้องกันโรคแทรกซ้อนจากโรคเหล่านั้น
การใช้ยาปฏิชีวนะในสุกร
เกษตรกรที่เลี้ยงสุกรใช้ amoxicillin มากที่สุด จำานวน 6 ราย (ร้อยละ 66.7 ของเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร 9 รายที่มีการใช้ยาปฏิชีวนะ) รองลงมาได้แก่ enrofloxacin จำานวน 5 ราย (ร้อยละ 55.6 ของเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรที่มี การใช้ยาปฏิชีวนะ) เพื่อใช้ในกรณีท้องเสียหรือติดเชื้อที่ปอดของสุกร เกษตรกรบางรายใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อการบำารุง ด้วยเข้าใจว่าเป็นวิตามินเนื่องจากบนฉลากระบุว่ามี วิตามิน B12 ผสมอยู่ด้วย นอกจากนี้ยังมีการใช้ยาปฏิชีวนะอีกหลายชนิด ได้แก่ oxytetracycline (ใช้เพื่อเป็น ยาแก้ไข้ให้กับสุกร), gentamicin, neomycin, ceftriaxone, colistin และ penicillin (ใช้หลังคลอดเพื่อป้องกันการอักเสบ เนื่องจากอาจมีการล้วงช่องคลอดสุกรเพื่อช่วยทำคลอดลูกสุกร) เกษตรกรจะทำการผสม colistin ในน้ำดื่มให้ลูกสุกรดื่มเป็นประจำทุกวัน โดยใช้เพื่อเป็นวิตามินในการบำรุงลูกสุกรตามที่บริษัทส่งมาให้ใช้ตลอด วงจรการเลี้ยงจนกว่าสุกรจะโตเต็มวัยจนอายุครบ 5 เดือน นอกจากนั้นทุกครั้งที่มีการให้วัคซีน เกษตรกรจะให้ยาปฏิชีวนะกับสุกรที่ได้รับวัคซีนทุกครั้ง โดยให้เป็นระยะเวลา ติดต่อกันนาน 3 วนั เพอ่ืป้องกันอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจ เกิดขึ้นกับสุกรหลังได้รับวัคซีน และมีการใช้ neomycin ในช่วงที่ลูกสุกรหรือสุกรเกิดภาวะตาบวม โดยเกษตรกรจะ ละลายในน้ำให้สุกรดื่มทั้งคอก เพื่อรักษาทั้งสุกรตัวที่เป็นโรคและป้องกันในสุกรให้ไม่เป็นโรคไปพร้อม ๆ กัน โดยเกษตรกรบางรายใช้ceftriaxone ควบคู่กับยา enrofloxacin + vit.B12 หรือ amoxicillin ในการรักษาโรค ติดเชื้อหลายชนิดในสุกรที่มีอายุตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป
การใช้ยาปฏิชีวนะในสุกรนั้นจะต้องใช้อย่างมีความรับผิดชอบ ไม่ใช้พร่ำเพื่อ โดยจุดประสงค์หลักจะต้องใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อการรักษาเมื่อเจ็บป่วยเท่า ซึ่งสุกรที่จะได้รับยาปฏิชีวนะนั้นจะต้องได้รับการตรวจโดยสัตวแพทยอย่างละเอียด และปริมาณความเหมาะสมของการใช้ยาตามที่สัตวแพทย์สั่ง เจ้าของจะต้องทำการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดในระหว่างสุกรในฟาร์มป่วย โดยจะต้องทำการแยกสุกรตัวนนั้นออกมาจากฝูง มีการทำความสะอาดคอกให้สะอาดอยู่เสมอ รวมถึงการบำรุงดุแลในเรื่องอาหารการกิน ที่จะต้องครบคุรค่าทางโภชนการตามความต้องการในแต่ละวัน เพื่อให้สุกรสามารถฟื้นตัวจากอาการเจ็บป่วยได้เร็วขึ้น
เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้ยาปฏิชีวนะในสุกรการให้ข้อมูลปรึกษาอย่างครบถ้วนจากสัตว์แพทย์เพียงแค่ครั้งแรกเท่านั้นเมื่อสุกรในฟาร์มป่วย แต่เมื่อครั้งต่อไปแล้วนั้นมักไม่ปรึกษาสัตวแพทย์ เนื่องจากเป้นยาตัวเดิมที่เคยใช้แล้ว ซึ่งส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่ายาปฏิชีวนะตัวเดิมนั้นจะใช้ได้นานแค่ไหนก็ได้ หรือจะใช้จนกว่าสุกรจะมีอาการดีขึ้นจึงหยุด ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างมาก หากสุกรในฟาร์มป่วยไม่ว่าครั้งไหนจะต้องทำการปรึกษากับสัตวแพทย์ทันที เพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวการใช้ยา และระยะเวลาที่ต้องใช้ เพื่อให้สุกรในฟาร์มนั้นได้มีรน่างกายที่แข็งแรง
การใช้ยาปฏิชีวนะในสุกรมีการแพร่หลายมากขึ้นเนื่องจากหาซื้อได้ง่ายตามร้านจำหน่ายสินค้าการเกษตร ซึ่งตัวยาบางตัวนั้นไม่ได้รับการจดทะเบียนยาอย่างถูกต้อง และเกษตรกรที่เลี้ยงสุกรบางคนก้ไม่มีความรู้มากนัก และไม่มีใครสามารถให้คำแนะนำได้จึงใช้ยาปฏิชีวนะอย่างพร่ำเพรื่อ ทำให้เกิดการสะสมของยาในร่างกายสุกร และเกิดการดื้อยา
การใช้ยาปฏิชีวนะเกินความจำเป็น
เมื่อได้นำสัตว์มาเลี้ยงในฟาร์มแล้วจะต้องทำการดุแลเอาใจใส่อย่างมาก เพื่อให้สัตวืในฟาร์มีสุขภาพที่ดี แข็งแรงสมบูรณ์ หากเลี้ยงอย่างละเลยไม่ถูกหลักอนามัย คอกที่แห้งแล้งแออัด การตัดอวัยวะสัตว์ที่เต็มไปด้วยความเจ็บปวด และการพรากลูกสัตว์ออกจากแม่เร็วเกินควร ล้วนแล้วแต่มีความเกี่ยวข้องกับการใช้ยาปฏิชีวนะเกินความจำเป็นในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ทั่วไป ซึ่งสิ่งนี้เรียกได้ว่าเป็นการทรมาณวัตว์อย่างนึง
อันตรายจากการการใช้ยาปฏิชีวนะในสุกร
การใช้ยาปฏิชีวนะในสุกรที่พร่ำเพรื่อนั้นจะทำใเกิดการดื้อยา เนื่องจะเป็นการไปกระตุ้นให้เชื้อแบคทีเรียกลายพันธุ์เป็นเชื้อดื้อยา ซึ่งจะต้องหันไปพื้งยาปฏิชีวนะตัวใหม่ไปเรือย ๆ อีกสิ่งในอันตรายของการใช้ยาปฏิชีวนะในสุกรคือทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ยาอันตรายหลายชนิดทำการผสมในอาหารให้สุกรกินกันและรักษาหมูติดโรคท้องร่วงหรือโรค อื่นๆ
ผศ.ภกญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผจก.ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา กล่าวว่า หากมีการใช้ยาดังกล่าว และทำให้เกิดเชื้อดื้อยาโคลิสติน จากฟาร์มหมู อาจเป็นสาเหตุให้จำนวนผู้เสียชีวิตมีเพิ่มมากขึ้นในอนาคตได้ โดยเฉพาะการแพร่กระจายจากเล้าหมูออกไปปะปนสู่ดิน หรือลำน้ำสาธารณะบริเวณใกล้เคียงฟาร์มหมู
9 ข้อปฏิบัติการใช้ยาต่อสัตว์
- แหล่งที่มาของยาสัตว์
เป็นยาสัตว์ที่ขึ้นทะเบียนไวกับหน่วยงานที่มีอํานาจหน้าที่ เป็นยาสัตว์ที่ขึ้นทะเบียนไว้กับหน่วยงาน ที่มีอํานาจหน้าที่
- สัตวแพทย์และผู้ไดรับ มอบหมาย
จะต้องมีสัตวแพทย์รับผิดชอบในการตรวจววินิจฉัยบําบัด บรรเทา ป้องกัน รักษาโรค แนะนําและควบคุมการใช้ยา กําหนดระยะเวลาหยุดยา และออกใบสั่งยา (veterinary prescription) ผู้ไดรับมอบหมายจากสัตวแพทย์ต้อง ได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการใช้ยาและ มีคําแนะนําที่ชัดเจนจากสัตวแพทย์
3.ข้อมูลเกี่ยวกับยาสัตว์
ยาสัตว์ต้องมีข้อมูลที่สําคัญบนฉลากและ เอกสารกํากับยาสัตว์
- การเตรียมยา
ผู้เตรียมยาต้องได้รับการฝึกอบรมวิธีการ ใช้ยาสัตว์และการใช้อุปกรณ์อย่างถูกต้อง
- การใช้ยาสัตว์
ใช้ตามใบสั่งยา ยกเว้นยาที่ไม่ต้องมีใบสั่งยาจากสัตว์แพทย์และต้องไม่ใช่ยาสิ้นอายุ มีเอกสารหรือคําแนะนําการใช้ยาสัตว์ ที่มีรายละเอียดวิธีการใช้ หยุดใช้ยาตามระยะเวลาหยุดยาที่กําหนด ไว้ในใบสั่งยา เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดยาสัตว์ตกคางในเนื้อสัตวหรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์ มีตารางการใช้ยาสัตว์ในการปองกันโรค ตามคําแนะนําของสัตวแพทย์
6.การเก็บประวัติการใช้ยา
สัตวแพทย์และเจ้าของฟาร์มจะต้องมีการบันทึกการใช้ยาสัตวืโโยต้องเก็บบันทึกไว้อย่างน้อย 3 ปีเพื่อให้สามารถตรวจสอบได้
7.การระงับการใช้ยา
กรณีที่สงสัยว่ายาสัตว์ที่มช้นั้น ทำให้เกิดความผิดปกติต่อสัตว์หรือไม่ สัตวแพทยืหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจะต้องหยุดให้่ยาชนิดนั้นทันที และทำการบันทุกผลข้างเคียง พร้อมทั้งรายงานให้หน่วยงานที่มีอำนาจทราบ
8.การเก็บรักษายาสัตว์
ให้เก็บรักษายาสัตว์ตามคำแนะนำของผู้ผลิตยาชนิดนั้น
9.การกำจัดยาสัตว์ที่ไม่ต้องการใช้
การกำจัดยาสัตว์ที่เหลือจากการใช้ ต้องปกิบัติให้ปลอดภัยตามคำแนะนำบนเอกสารกำกับยา หรือคำแนะนำของสัตว์แพทย์
บทสรุป
และทั้งหมดนี้ก็คือ ทำความเข้าใจ การใช้ยาปฏิชีวนะในสุกร ป้องกันปัญหาสุภาพสุกรในฟาร์ม ที่เรานำมาฝากทุกคนเพื่อให้ตระหนักถึงการใช้ยาปฏิชีวนะในสุกรที่เหมาะสม ไม่ควรใช้มากเกินไป เพราะจะทำให้เกิดอันตรายต่อสุกรและคนได้ และต้องทำความเข้าใจใหม่ในเรื่องการใช้ยา ต้องมีการปรึกษษสัตวแพทยืผู้เชี่ยวชาญให้ดีก่อน
สามารถดูบทความ อื่น ๆ ที่น่าสนใจได้ที่ https://famertools.com/