ครั้งนี้อยากพาทุกคนมา ทำความรู้จักพันธุ์ ต้นสะตอ กับวิธีการปลูกแสนง่ายดาย พืชเศรษฐกิจไทย ที่เป็นผักพื้นเมืองของคนภาคใต้ และนิยมนำมารับประทานกันทั่วทุกภาคเนื่องด้วยสะตอมีรสชาติที่ดี ใครที่ได้กินก็ต้องชอบและอยากกินอีก อีกทั้งสะตอนั้นยังมีคุณค่าทางสารอาหารที่สูง อร่อยแถมยังสุขภาพดี
สะตอคืออะไร
สะตอมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Parkia speciosa เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ถั่ว มีกิ่งก้านที่มีขนละเอียดใบประกอบแบบขนนกสองชั้น จะออกช่อที่ปลายของกิ่งตามตำราแพทย์แผนไทย จะใช้เมล็ดเพื่อช่วยในการ ขับลมในลำไส้ แก้ปัสสาวะพิการไตพิการ ชาวโอรังอัซลีในรัฐเปรัก ประเทศมาเลเซียนำเมล็ดมาสดรับประทาน แก้อาการผิดปกติของไต สะตอมีเมล็ดที่มีกลิ่นเหม็นเขียวรุนแรง แต่นิยมนำมารับประทานกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอาหารไทยปักษ์ใต้ หลังจากรับประทานสะตอเข้าไปจะมีกลิ่น สามารถดับกลิ่นสะตอ ด้วยการรับประทานมะเขือเปราะตามสักสองสามลูก สะตอเมื่อสุกจนฝักเป็นสีดำแล้ว เนื้อสะตอเป็นสีเหลืองบางๆ รับประทานได้ทั้งเม็ด เมล็ดในระยะนี้รสมัน เนื้อมีรสหวาน ถ้าแก่กว่าระยะนี้ ฝักจะแห้ง เมล็ดเป็นสีดำ แข็งและมีกลิ่นฉุนจัดไม่สามารถนำมารับประทานได้
ทำความรู้จักพันธุ์ ต้นสะตอ
เป็นที่ทราบกันดีว่าสะตอนั้นมีการแบ่งแยกสายพันธุืที่ชัดเจน ซึ่งสะตอที่นิยมนำมารับประทานนั้นเป่นสะตอข้าวและสะตอดาน แต่ยังมีอีกหนึ่งสายพันธุ์ที่บางคนอาจไม่ทราบ ซึ่งแต่ละสายพันธุ์มีรสชาติและลักษณะที่แตกต่างกัน ดังนี้
1.สะตอข้าว (Figure 1A) มีลักษณะฝักบิดเป็นเกลียว ฝักของสะตอข้าวมีทั้งขนาดสั้นและขนาดยาว แล้วแต่พันธุ์ที่กลายออกไป โดยเฉลี่ยแล้วขนาดของฝักจะมีความบยาวประมาณ 31 เซนติเมตร ความกว้างของฝักจะอยู่ที่ 4 เซนติเมตร เนื้อเมล็ดมีสีเขียว กลิ่นฉุนมาก แต่มีเนื้อที่กรอบให้รสชาติที่หวาน สะตอข้าวเป็นพันธุ์ที่มีเปลือกบางเหมาะที่จะเป็นผักเหนาะ
2.สะตอดาน (Figure 1B) มีลักษณะของฝักที่ตรงแบนและไม่บิดเบี้ยว ความยาวของฝักปนะมาณ 32 เซนติเมตร ฝักมีความกว้างกว่าสะตอข้าวเล็กน้อย เมล็ดของสะตอดานนั้นจะใหญ่ และเนื้อของเมล็ดมีกลิ่นที่ฉุนมากกว่าสะตอข้าว และมีรสเผ็ด เนื้อแน่นกว่าสะตอข้าว เหมาะแก่การนำไปประกอบอาหารประเภทแกงหรือผัดเผ็ดต่าง ๆ อายุการให้ผลผลิตนั้นจะอยู่ที่ 5-7 ปี หลังการปลูก
3.สะตอแตหรือสะตอป่า สะตอพันธุ์นี้จะสามารถพบได้ในป่าลึก ลักษณะของฝักและเมล็ดจะค่อนแข็งกว่าสะตอข้าวและสะตอดาน มีขนาดเล็กและสั้น รสชาติไม่อร่อย คนจึงไม่นิยมนำมารับประทาน
สรรพคุณสะตอ และฤทธิ์ทางเภสัชกรรม
- ฤทธิ์ต่อการแบ่งตัวของเซลล์เม็ดเลือดขาว สารที่ออกฤทธิ์ คือ สารเลคติน ช่วยกระตุ้นภูมิต้านทานให้แก่ร่างกาย
- ฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อรา และแบคทีเรีย สารที่ออกฤทธิ์ ได้แก่ สารในกลุ่ม polysulfides
- ฤทธิ์กระตุ้นการเกาะกลุ่มของเม็ดเลือดแดง (heamaglutination) สารที่ออกฤทธิ์ คือ สารเลคติน
- ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด โดยเฉพาะสาร β-sitosterol และstigmasterol ที่ออกฤทธิ์ลดในตาลในเลือดได้ดี
- ฤทธิ์กระตุ้นให้ลำไส้บีบตัวของลำไส้ ช่วยให้อุจจาระอ่อนตัว และช่วยกระตุ้นการขับถ่าย
ประโยชน์ของสะตอ
1.มีวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด
2.ช่วยขับลมในลำไส้ แก้ปัสสาวะพิการไตพิการ
3.ช่วยลดน้ำตาลในเส้นเลือด ป้องกันโรคเบาหวาน
4.มีใยอาหารสูงช่วยในการขับถ่ายได้ดี
5.ช่วยบำรุงสายตา
6.ช่วยทำให้เม็ดเลือดแดงเกาะกลุ่มกันได้ดีขึ้น,มีผลต่อการแบ่งตัวของเซลล์
7.ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย
8.ใบของสะตอใช้ทำเป็นปุ๋ยบำรุงดินได้อีกด้วย
วิธีการปลูก ต้นสะตอ
การปลูกสะตอนั้นจะนิยมปลูกด้วยการเพาะเมล็ด โดยทำการเลือกเมล็ดจากฝักแก่ ลอกเอาเยื่อหุ้มเมล็ดออกและนำไปแช่น้ำ 1 คืน หลังจากนั้นนำมาสะเด็ดน้ำให้แห้งและนำไปเพาะในถุงเพาะชำหรือแปลงเพาะกล้า โดยจะต้องมีการเตรียมพื้นที่ขุดหลุมให้กว้าว ยาว ลึก ประมาณ 50 เซนติเมตร และรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกแห้งและปูนขาวช่วยในการกำจัดเชื้อรา หลังจากนั้นจึงทำการรดน้ำให้ชุมชื้นทุกวัน วันละ 1-2 ครั้ง ต้นสะตอจะเริ่มให้ผลผลิตครั้งแรกเมื่อมีอายุ 4-7 ปี ตั้งแต่เริ่มปลูก ซึ่งแต่ละต้นจะให้ผลผลิตประมาณ 200-300 ฝัก และจะให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นเรื่อยตามอายุของต้นสะตอ
การให้ปุ๋ย
การให้ปุ๋ยนั้นแนะนำให้ใช้สูตรปุ๋ย 15-15-15 และให้น้ำตามอย่างชุมชื้นพอดี จะช่วยให้ต้นสะตอมีพัฒนาการในการเจริญเติบโตที่ดี สามารถเพิ่มการใส่ปุ๋ยคอกแห้ง โดยในช่วงต้นสะตอขนาดเล็กได้ใส่ปุ๋ยคอกแห้งครึ่งกระสอบ หรือ 15 กิโลกรัม ต่อต้น เมื่อต้นสะตอมีขนาดใหญ่ได้ใส่ปุ๋ยคอกแห้ง 1 กระสอบ หรือ 30 กิโลกรัม ต่อต้น เพื่อช่วยเสริมให้ต้นสะตอเจริญเติบโตสมบูรณ์ ติดดอกออกฝักโตได้อย่างมีคุณภาพ
การให้น้ำ
การให้น้ำต้นสะตอนั้นจะต้องให้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ต้นสะตอได้รับน้ำอย่างเพียงพอต่อการเจริญเติบโตที่สมบูรณ์ ในฤดูแล้งจะต้องมีการจัดระบบการให้น้ำอย่างดี จะทำการติดตัเ้งสปริงเกิลเพื่อช่วยให้น้ำสะตอได้อย่างทั่วถึง และยังลดแรงงานได้ การให้น้ำแบบสปริงเกิลจะให้น้ำแบบวันเว้นวัน หรือเว้นสองวัน หรือดูความชุ่มชื้นในดินก่อนการให้น้ำ ส่วนในฤดูฝนนั้นให้ต้นสะตอได้รับน้ำจากน้ำฝน
ความแตกต่างระหว่าง สะตอข้าว และ สะตอดาน
หลายคนคงมีความสงสัยกันว่าที่เรารับประทานสะตออยู่ทุกวันนี้นั้นเป็นสะตอพันธุ์อะไร เพราะบางครั้งที่เราไปซื้อสะตอตามตลาดหรือซุปเปอร์มาเก็ตโดยส่วนใหญ่ไม่ได้ระบุไว้ว่าเป็นสะตอพันธุ์อะไร เนื่องจากสามารถรับประทานได้หมดอยู่แล้ว แต่เราจะมาไขข้อสงสัยให้ทุกคนได้ทราบว่าจะสตะอที่ทุกคนกินนั้นเป็นพันธุ์อะไรโดยแยกจาก สะตอพันธุ์ข้าวนั้นจะเป้นสะตอที่มีฝักบิดเกลียว ฝักสั้น และมีกลิ่นไม่ฉุนมากนัก เนื้อเมล็ดมีรสชาติหวาน อร่อย รับประทานง่าย ส่วนสะตอดานจะมีฝักที่แบน ยาว เมล็ดนูนใหญ่ เนื้อมของเมล็ดจะแน่นเต็มฝัก มีกลิ่นที่ฉุนมากกว่าสะตอข้าว และรสชาติที่เผ็ด
การเลือกสะตอไม่ใช่เรื่องยากเพียงแค่มองที่ฝักของสะตอที่มีความสวยงาม สภาพดี ในหนึ่งฝักมีหลายเมล็ด และเมล็ดมีความอวบนูนเต็มฝัก ไม่มีรอยฟกช้ำหรือหัเพียงเท่านี้ก็สามารถหยิบใส่ตะกร้า นำไไปรับประทานที่บ้านได้แล้ว
วิธีดับกลิ่นสะตอ
เป็นที่ทราบกันดีว่าสตอนั้นมีกลิ่นที่ฉุนมาก แต่มีรสชาติที่อร่อยและคุณค่าทางดภชนาการที่สูงพอสมควร การจะทานสตอแต่ละทีนั้นสำหรับบางคนต้องช่างใจว่าจะทานดีหรือไม่เพราะทานแล้วก็ต้องหาวิธีดับกลิ่น ซึ่งวิะีในการดับกลิ่นสะตอในปากนั้นง่ายนิดเดียวเพียงแค่รับประทานมะเขือเปาะในปริมาณ 2-3 ลูก แค่นี้ก็จะช่วยลดกลิ่นสะตอในปากได้แล้ว เป็นวิธีที่ง่ายและสามารถหาวัตถุดิบได้ง่ายเลยทีเดียว
บทสรุป
เป็นอย่างไรบ้างกับ ทำความรู้จักพันธุ์ ต้นสะตอ กับวิธีการปลูกแสนง่ายดาย พืชเศรษฐกิจไทย ที่เราได้นำเอาความรู้ต่าง ๆ มาให้ทุกคนได้ทำการศึกษาในเรื่องของการปลูฏสะตอ ที่สามารถปลูกได้ง่าย เพียงแค่มีพื้นที่สำหรับการปลูกที่ดี รวมถึงประโยชน์และสรรพคุณของสะตออีกมากมายที่นอกจากจะรับประทานเพื่อความอร่อยแล้ว ยังได้คุณค่าทางสารอาหารที่ครบครันอีกด้วย หากใครอยากอ่านบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจสามารถรับชมได้ที่ https://famertools.com/