พาทุกคน มารู้จัก ต้นแตงกวา ลักษณะอันโดดเด่น พร้อมวิธีการปลูกที่ถูกต้อง เพื่อให้ทุกคนที่สนใจที่จะปลูกแตงกวาได้ทำการศึกษาและนำไปปฏิบัติให้ถูกต้องเพื่อใหแต่งกว่าที่ท่านปลูกออกมาสวยงาม ได้ผลดีรวมถึงการบอกลักษณะของต้นแตงกวาเพื่อให้ท่านสามารถสังเกตด้วยตาเปล่าได้ว่าต้นแตงกวามีลักษณะอย่างไร ถ้าอยากรู้แล้วไปติดตามกันได้เลย
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับแตงกวา
แตงกวาที่ทุกคนเห็นกันทั่วไปและเข้าใจว่าเป็นพืชผักนั้น แท้จริงแล้วเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งโดยมีส่วนประกอบหลักเป็นน้ำถึง 95 % และส่วนที่เหลือเป็นเส้นใยธรรมชาติ แร่ธาตุ วิตามิน และสารประกบต่าง ๆ ที่ให้คุณค่าโภชนาการที่ดีต่อร่างกายคนเรา
ลักษณะของต้นแตงกวา
ต้นแตงกวามีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ซึ่งในประเทศไทยนิยมปลูกเพื่อประกอบอาชีพ เนื่องจากปลุกได้ง่าย ให้ผลผลิตได้เร็ว และการเก็บรักษาง่ายกว่าพืชผักชนิดอื่น ๆ แตงกว่านั้นเป็นไม้เลื้อย จัดอยู่ในตระกูลพืชล้มลุก มีรากแก้วและรากแขนงจำนวนมาก สามารถแผ่กว้างและหยั่งลึกได้มากถึง 1 เมตร ลำต้นเป็นเถาเลื้อยยาวง 2-3 เมตร เป็นเหลี่ยมมีขนขึ้นปกคลุมทั่วไป มีข้อยาวถึง 10-20 เซนติเมตร และมือเกาะเกิดออกมาตามข้อ โดยส่วนประกอบของมือเกาะไม่มีการแตกแขนงเป้นหลายๆ เส้น
สภาพแวดล้อมที่เหมาะต่อการปลูกต้นแตงกวา
ก่อนทำการปลูกจะต้องมีการไถพรวนดินและตากไว้ประมาณ 7-10 วัน เพื่อทำลายวัชพืช และศัตรูพืชบางชนิดที่อยู่ในดิน หลังจากนั้นจึงมาไถพรวนเก็บเอาเศษวัชพืชออกให้หมด แล้วทำการเตรียมแปลงปลูกขนาดกว้าง 1-1.2 เมตร โดยสามารถอิงความยาวตามลักษณะของพื้นที่ในการปลูก แล้วจึงใส่ปุ๋ยอินทรีย์ลงไป เพื่อปรับโครงสร้างของดินให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของต้นแตงกวา และการเตรียมหลุมปลูกนั้นควรกำหนดระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 60-80 เซนติเมตร ระหว่างแถวประมาณ 1 เมตร สำหรับการใส่ปุ๋ยเคมีรองพื้นนั้นอาจใช้สูตร 15-15-15 บางพื้นที่อาจใช้พลาสติกคลุมดินเพื่อรักษาความชื้นในดิน ป้องกันการงอกของวัชพืชและพลาสติกบางชนิดสามารถไล่แมลงไม่ให้เข้ามาทำลายต้นแตงกวาได้
การปลูกที่ดี เพื่อให้ได้ผลผลิตที่งอกงาม
วิธีการปลูกแตงกวานั้นมีหลากหลายวิธี โดยที่พบเห็นส่วนใหญ่จะใช้วิธีการหยอดเมล็ดพันธุ์โดยตรงหรือการเพาะกล้อ่อนแล้วย้ายมาปลูกในดิน การหยอดเมล็ดนั้นมีความสะดวกในการปลูกเป็นอย่างมาก แต่ข้อเสียนั้นคือการสิ้นเปลืองเมล็ด หากใช้เมล็ดพันธ์ผสมที่มีราคาแพงจะทำให้เกิดความสูญเปล่า และเป็นการเพิ่มต้นทุนในการผลิต ถ้าหากใช้วิธีปลูกด้วยการเพาะกล้าอ่อนก็จะช่วยเรื่องของการลดต้นทุน ประหยัดเมล็ดพันธุ์ ดูแลรักษาได้ง่าย และต้นกล้ามีความสม่ำเสมอ
การปลูกแตงกวา (ระยะกล้า) จะทำได้ 2 วิธี คือ
วิธีปลูกโดยหยอดเมล็ดลงในหลุมโดยตรง วิธีนี้จะสะดวกต่อการปลูกเกษตรกรนิยมใช้วิธีนี้แม้ว่าจะสิ้นเปลืองเมล็ดพันธุ์พอสมควร
วิธีปลูกแบบเพาะกล้า
- เตรียมดินเพาะ ใส่ลงในถาดเพาะที่เตรียมไว้
- หยอดเมล็ดพันธุ์ลงในถาดเพาะหลุมละ 1-2 เมล็ด
- ดูแลให้น้ำทุกวัน ปุ๋ย และเก็บไว้ในที่แดดอ่อนๆ และเมื่อต้นกล้ามีใบจริงประมาณ 4-5 ใบจึงย้ายลงปลูก
การย้ายกล้าปลูก
เมื่อได้ต้นกล้าที่อยู่ในความเหมาะสมแล้วให้นำต้นกล้าย้ายลงหลุม ตามระยะห่างระหว่างต้นและระหว่างแถวตามที่ได้กำหนดไว้ โดยทำการฉีกถุงพลาสติกที่ใช้เพาะกล้าออกแล้วย้ายลงในหลุมปลูก ซึ่งเวลาในการย้ายต้นกล้านั้นควรจะเป็นช่วยเวลา 17.00 น. จะทำให้ปฏิบัติงานในไร่นาได้สะดวกและจะทำให้ต้นกล้าสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแลดล้อมได้ดีมากขึ้น
การให้น้ำ
การให้น้ำสำหรับการปลูกนั้นจะแตกต่างกันตามสภาพพื้นที่ ซึ่งการให้น้ำที่เหมาะสมที่สุดคือการให้น้ำตามร่อง สามารถรักษาความชื้นของต้นแตงกวาได้ดีและลดการเกิดโรค
โรคที่เกิดขึ้นในแตงกวา
โรคราน้ำค้าง
สามารถพบอาการได้ตามใบ ซึ่งอาหการที่พบนั้นมักเป็นแผลแบบสี่เหลืองชัดเจน ซึ่งสำหรับบางสายพันธ์อาจพบเป้นสีขาวหรือสีเทา โดยการแพร่ระบาดนั้นพบได้ทุกระยะการเจริญเติบโต ระบาดในช่วงปลายฝนต้นหนาว เนื่องจากมีอุณหภูมิที่ต่ำในเวลากลางคืน และอุณหภูมิที่สูงในเวลากลางวันทำให้อาการของโรคราน้ำค้างรุนแรงขึ้น
โรคใบด่างแตง
โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส Cucumber mosaic virus ซึ่งกระทบทุกส่วนตั้งแต่ต้นกล้าที่สามารถทำให้ชะงักการเจริญเติบโตได้ และตายในที่สุด ใบมีขนาดที่เล็กลง ด่างย่น ใบจะแก่เหลืองและแห้งตายในที่สุด และผลแตงกวาจะมีด่างลาย เขียวซีด ผิวขรุขระ อาจทำให้มีรสชาติขม โดยการแพร่ระบาดนั้นพบได้ทุกระยะการเจริญเติบโต
แมลงศรัตรูพืช
เพลี้ยไฟ เป็นลักษณะแมลงที่มีขนาดเล็ก จะดูดน้ำเลี้ยงที่ใบ ดอกอ่อน และยอดอ่อน และหลังจากนั้นใบจะเกิดการม้วนและหยิกงอ มีรูปร่างที่ผิดปกติ ระบาดในช่วงที่มีอากาศแห้ง
เพลี้ยอ่อน แมลงขนาดเล็ก ตัวอ่อนสีเขียว ส่วนตัวแก่จะเป้นสีดำและมีปีก จะทำการดูดน้ำเลี้ยงจากใบและยอดอ่อน ทำให้ใบม้วน ต้นแคระแกร็น และเพลี้ยอ่อนยังเป้นพาหนะนำเชื้อไวรัสอีกด้วย
ประโยชน์
แตงกวามีน้ำเป็นองค์ประกอบถึงร้อยละ 96 จึงมีคุณสมบัติแก้กระหาย และเพิ่มความชุ่มชื้น และช่วยการกำจัดของเสียตกค้างในร่างกาย นอกจากนี้แตงกวามีสารอาหารที่มีประโยชน์ ได้แก่ วิตามินซี กรดคาเฟอิก กรดทั้ง 2 นี้ป้องกันการสะสมน้ำเกินจำเป็นในร่างกาย เปลือกแตงกวามีกากใยอาหาร และแร่ธาตุจำเป็น ซิลิกาเป็นแร่ธาตุที่เสริมความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ กระดูกอ่อน เส้นเอ็น และกระดูก ปริมาณ เส้นใย ธาตุโพแทสเซียมและแมงกานีส
ในเปลือกแตงกวาช่วยควบคุมความดันเลือดและความ สมดุลของสารอาหารในร่างกาย ธาตุแมกนีเซียมช่วยเสริมการทำงานของระบบประสาท กล้ามเนื้อ และระบบการไหลเวียนโลหิต เส้นใยอาหารควบคุมระดับคอเลสเตอรอล และช่วยระบบขับถ่ายโดยมีพลังงานต่ำเหมาะ กับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก
แตงกวาเป็นพืชที่ไม่ทนทานต่อสารมลพิษอินทรีย์แต่สามารถส่งเสริมการย่อยสลายสารพิษในไรโซสเฟียร์ได้ดี โดยสามารถส่งเสริมการย่อยสลาย เอนโดซัลแฟน ซัลเฟต แอนทราซีนและฟลูออรีนได้
บทสรุป
จบกันไปที่เรียบร้อยกับ มารู้จัก ต้นแตงกวา ลักษณะอันโดดเด่น พร้อมวิธีการปลูกที่ถูกต้อง ที่เราได้นำมาฝากเกี่ยวกับต้นแตงกว่า ด้วยลักษณะที่โดดเด่น และทราบโดยพร้อมเพรียงกันว่าแตงกวานั้นไม่ได้เป็นผักแต่เป็นผลไม้ อีกทั้งยังได้รู้เกี่ยวกับการปลูกแตงกว่าอย่างไรให้ถูกวิธีและทำให้มีผลผลิตที่งอกงามอีกด้วย หวังว่าจะเป็นประโยชน์ให้แก่ทุกท่านได้ไม่มากก็น้อย สามารถเข้ามาเยี่ยมชมบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจได้ที่ Click