แนะนำ 7 นวัตกรรม ชุมชน พัฒนาท้องถิ่น สู่การใช้ชีวิตที่ยั่งยืน

0
19825
นวัตกรรม ชุมชน

สำหรับครั้งนี้จะมา แนะนำ 7 นวัตกรรม ชุมชน พัฒนาท้องถิ่น เพื่อการใช้ชีวิตที่ยั่งยืน ที่ได้มีการประดิษฐ์ออกมาเพื่อการใช้งานที่สร้างสรรค์ เพื่อคนในชุมชนได้มีนวัตกรรมที่จะช่วยให้การใช้ชีวิตในยุดปัจจุบันดีขึ้น และช่วยให้คนในชุมชนท้องถิ่นได้ตระหนักถึงการเรียนรู้อะไรใหม่ ๆ ให้มีทักษะเพิ่มพูนมากขึ้น สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดให้ชุมชนน่าอยู่ปละเจริญได้อย่างก้าวหน้า

นวัตวกรรม หมายถึงอะไร ?

นวัตกรรม ในภาษาอังกฤษคือ Innovation หมายถึง แนวคิดใหม่ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ที่ต่อยอดและใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยยิ่งขึ้น โดยอาศัยความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อนำไปสร้างสรรค์ในรูปแบบใหม่ให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น ซึ่งนวัตกรรมที่ประสบความสำเร็จ สามารถช่วยสร้างมูลค่าในเชิงเศรษฐกิจได้

นวัตกรรมชุมชน คือ ?

การนำเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และนัวตกรรม มาเป็นเครื่องมือในการออกแบบสร้างสรรค์ผลงานเพื่อการขับเคลื่อนและพัฒนาชุมชน เพื่อการใช้ประโยชน์และมีคุณค่า ช่วยแก้ไขปัญหาภายในท้องถิ่นให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างยั่งยืน

ประเภทของนวัตกรรม

  1. นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product Innovation)
    การปรับปรุงสิ่งประดิษฐ์ หรือผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้วให้พัฒนาก้าวหน้ายิ่งขึ้น โดยมีทั้งแบบที่จับต้องได้ และจับต้องไม่ได้ นอกจากช่วยสร้างความสะดวกสบายแล้ว ยังสามารถเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์ในตลาดได้
  2. นวัตกรรมกระบวนการ (Process Innovation)
    การพัฒนาแนวทาง วิธีผลิตสินค้าและบริการ ให้มีรูปแบบใหม่ที่ทันสมัยมากขึ้น อาจจะเป็นการลดขั้นตอนกระบวนการผลิตให้รวดเร็วมากขึ้น เพื่อประหยัดต้นทุนและเวลา
  3. นวัตกรรมด้านการวางตำแหน่งของสินค้า (Position Innovation) 
    การเปลี่ยนแปลงรูปแบบของนวัตกรรมสินค้าและบริการเป็นการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งผลิตภัณฑ์ จากแบบเดิมที่คนส่วนใหญ่รู้จักหรือคุ้นเคยอยู่แล้วไปสู่การรับรู้ใหม่ที่ทันสมัยมากขึ้น เพื่อนำเสนอเทคโนโลยีและภาพลักษณ์ใหม่ๆ สู่ผู้บริโภค
  4. นวัตกรรมด้านกระบวนทัศน์ (Paradigm Innovation)
    การสร้างนวัตกรรมที่สามารถเปลี่ยนแปลงกรอบความคิด เพื่อนำไปสู่การสร้างกรอบความคิดใหม่ๆ

ลักษณะของนวัตกรรม

หลายคนอาจจะรู้แล้วว่านัวตกรรมคืออะไร แต่ก็ยังไม่เข้าใจว่ามีลักษณะแบบไหน เราจึงได้นำเอาลักษณะของนวัตกรรมาให้ทุกคนได้ทำความเข้าใจกัน

1.นวัตวกรรมนั้นจะมีลักษณะการใช้งานที่แปลกใหม่และมีประโยชน์

2.การผลิตนวัตกรรมแต่ละชิ้นออกมาจะมีผลิตเพื่อกลุ่มเป้าหมายโดยเฉพาะ และตามยุตสมัย

3.เป็นสิ่งใหม่ที่สามารถแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้ดี

4.การประกายไอเดียที่สร้างสรรค์ผลงานอย่างมีคุณค่า

5.มีความเป็นไปได้ และยังเกี่ยวข้องกับดมเดลธุรกิจในปัจจุบัน ที่ถูกมองว่ามีคุณค่าต่อสายตาของลูกค้า

ประโยชน์และความสำคัญของนวัตกรรม

การเข้ามามีบทบาทของนวัตกรรมทำให้ มีการใช้ชีวิตที่ง่ายมากขึ้นในเรื่องของการทำงานในองค์กร หรือการเกษตรที่ต้องการแรงขับเคลื่อนจากนวัตกรรมใหม่ ๆ และในปัจจุบันมีการพัฒนาวัตกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สินค้าและบริการมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยแก้ปัญหาการใช้ชีวิตได้อย่างง่ายดาย การประดิษฐ์นวัตกรรมที่เหมาะสมแก่กลุ่มเป้าหมายก็จะสามารถเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์ สินค้าและบริการได้เพิ่มมากขึ้น

แนะนำ 10 นวัตกรรม ชุมชน พัฒนาท้องถิ่น เพื่อการใช้ชีวิตที่ยั่งยืน

1.Smart farm IOT นวัตกรรมที่เกษตรกรสร้างเองได้ 

นวัตกรรม ชุมชน

Smart Farm IOT นวัตกรรมเกษตรอัจฉริยะ จาก คุณนิรันดร์ สมพงษ์ หรือ คุณโอ๋ ประธานสหกรณ์การเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดินปากช่อง (คทช.) จำกัด ในพื้นที่หมู่ที่ 15 ตำบลปากช่อง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ที่ได้มีการจัดทำระบบฟาร์มอัตโนมัติราคาถูกสำหรับเกษตรกรรายย่อย ด้วยชุดควบคุมการทำงานอัตโนมัติระบบ IOT ที่สามารถสั่งงานจากระยะไกลด้วยมือถือ ช่วยลดแรงงาน ลดต้นทุน พร้อมถ่ายทอดประสบการณ์สู่เกษตรในชุมชนให้สามารถทำการเกษตรได้ง่ายขึ้น โดยมีจุดเริ่มต้นของการคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมตัวนี้มาจากปัญหาทางการเกษตรในเรื่องของราคาผลผลิตตกต่ำ เพราะฉะนั้นการขายผลผลิตให้ได้ราคา ตลาดที่มีอยู่ไม่ได้เอื้อต่อการขายผลผลิตของเกษตรกรอยู่แล้ว สิ่งที่เกษตรกรสามารถทำได้คือ การลดต้นทุนในการผลิตให้น้อยลงที่สุด เพื่อให้เกษตรกรรายย่อยสามารถเข้าถึงนวัตกรรมที่จะช่วยให้การทำเกษตรกรรมง่ายดายมากขึ้น

2.ซาเล้งสูบน้ำโซลาร์เซลล์

นวัตกรรม ชุมชน

ซาเล้งสูบน้ำโซลาร์เซลล์ จาก นายวิชัย เข็มทอง โซลาร์เซลล์แบบเคลื่อนที่สำหรับใช้ในพื้นที่ทางการเกษตร ไม่ต้องลงทุนติดตั้งโซลาร์เซลล์แบบประจำที่หลายชุด ถือเป็นการช่วยลดต้นทุนให้กับเกษตรกร และยังสามารถแบ่งใช้งานร่วมกันในชุมชนได้

3.ระบบตากปลาล้ำสมัย

นวัตกรรม ชุมชน

ระบบตากปลาล้ำสมัย จาก ศูนย์ควบคุมการบินภูเก็ตร่วมมือกับชุมชนท่านุ่น จังหวัดภูเก็ต ซึ่งได้ในแนวคิดในการพัฒนามาจากการพัฒนาปรับปรุงที่ตากปลาที่สามารถกันฝนกันแมลงได้ เนื่องจากมีพลาสติกใสคลุม ใช้พลาสติกใสคลุมปลาแห้งเร็ว และเป้นระบบที่ตามหาแสงอาทิตย์ได้อัตโนมัติ มีช่องระบายไอน้ำ มีแผ่นเหล็กสีดำสแตนเลสช่วยเพิ่มความร้อน และโครงสร้างทำมาจากท่อเหล็กประปากันสนิมสแตนเลสให้มั่นใจว่า ระบบตากปลาล้ำสมัยนี้สามารใช้งานได้อย่างยาวนาน และแข็งแรง

4.กระติกข้าวเก็บความร้อน

นวัตกรรม ชุมชน

กระติกข้าวเก็บความร้อน นวัตกรรมจาก ศูนย์ควบคุมการบินอุบลราชธานีดำเนินการร่วมกับชุมชนตำบลปทุม จังหวัดอุบลราชธานี มีการพัฒนามาจากกระติกน้ำแข็งแยกชิ้นส่วนและแยกโฟมที่บุอยู่ชั้นกลางของกระติกออกและตัดพลาสติกชั้นในเป็น 2 ส่วน และก้นกระติกจะนำไม้ไผ่มาสานทำเป็นฐานกระติกข้าว ส่วนประบนฝากระติกจะถอดโฟมออกแล้วเจาะฝาพลาสติกเพื่อทำเป็นช่องระบายไอน้ำ ช่วยให้ข้าวเหนียวสามารถมีความร้อนที่ยาวนานมากกว่าปกติ

5.เครื่องผลิตบล็อกปูถนนขนาดเล็ก

นวัตกรรม ชุมชน

 

นวัตกรรมชุมชน จากนายเวชสวรรค์ หล้ากาศ จ.เชียงใหม่ เครื่องผลิตบล็อคปูถนนที่ใช้วิธีการเขย่าแม่พิมพ์เพื่อให้วัสดุอัดแน่นและมีความแข็งแรง โดยนำเศษขยะพลาสติกในชุมชนมาอัดเป็นส่วนผสมการผลิตบล็อค ถือเป็นการลดปริมาณขยะในชุมชน ช่วยลดต้นทุนในการก่อสร้างทางเท้า ชุมชนสามารถผลิตบล็อกปูถนนเพื่อใช้ได้เอง

6.เครื่องไล่ความชื้นข้าวเปลือก

นวัตกรรมชุมชน

นวัตกรรมเครื่องแรกของไทยราคาถูก จาก ฝ่ายเทคโนโลยีอาหาร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อไล่ความชื้นข้าว ให้มีโครงสร้างแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก คือ ส่วนของถังบรรจุข้าวเปลือกจะถูกออกแบบให้มีลักษณะเป็นทรงกระบอกกลม บริเวณส่วนล่างติดตั้งตะแกรงรองรับความเปลือก ส่วนที่ 2 คือส่วนของชุดใบกวน ที่ทำหน้าที่กลับกองข้าวเปลือก เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการลดความชื้นข้าวเปลือก ขับด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 1 แรงม้า  ออกแบบโดยการใช้หลักของไซโคลน ทำให้เกิดกระแสลมหมุนวน ส่งผลให้ลมร้อนที่ไหลออกจากห้องกระจายลม มีความสม่ำเสมอทั่วกันจากพลังงานก๊าซแอลพีจี โดยสามารถรองรับข้าวเปลือกได้สูงสุดที่ 500 กิโลกรัมต่อครั้ง เพียง 3 ชั่วโมงก็สามารถลดค่าความชื้นในเมล็ดข้าวเปลือกจาก 20% ให้เหลือเพียง 14 % ได้ โดยตัวเครื่องมีกำลังการผลิตสูงสุดถึง 2 ตันต่อวัน ซึ่งเป็นปริมาณที่เหมาะสมกับกลุ่มเกษตรกรรายย่อย

7.เตาแก๊สชีวมวลกรุห้องเผาประสิทธิภาพสูง

นวัตกรรมชุมชน

นวัตกรรมเตาแก๊สชีวมวลกรุห้องเผาด้วยอิฐทนไฟ จากดร.พิสิษฏ์ มณีโชติ วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นการออกแบบและพัฒนาเตาแก๊สชีมวลชุมชนขึ้นใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและยืดอายุการใช้งาน ให้เหมาะสมและคุ้มค่ากับการใช้งานในชุมชน โดยการกรุด้วยอิฐทนไฟในห้องเผาไหม้ ซึ่งเตาแก๊สชุมชนที่ออกแบบใหม่นี้ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางห้องเผาไหม้ 14.2 เซนติเมตร และมีความสูงของห้องเผาไหม้เท่ากับ 31.7 เซนติเมตร ใช้หลักการเผาไหม้แบบอินเวอร์สดาว์นดราฟท์แก๊สซิไฟเออร์ (Inverted Downdraft Gasifier) จากการทดสอบพบว่าเตาแก๊สชีวมวลที่ออกแบบใหม่มีประสิทธิภาพ 23.14% ในขณะที่เตาแก็สชีวมวลแบบเดิมที่ไม่ได้กรุห้องเผามีประสิทธิภาพเพียง 16.40% หรือมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นกว่า 40%

อ้างอิงจาก : Kasetkaokai.com

บทสรุป

เป็นอย่างไรกันบ้างกับ แนะนำ 7 นวัตกรรม ชุมชน พัฒนาท้องถิ่น เพื่อการใช้ชีวิตที่ยั่งยืน ที่รวมเอานวัตกรรมงานประดิษฐ์ที่สร้างสรรค์ออกมาอย่างมีคุณค่า เพื่อให้ได้ทำการศึกษา และเป็นที่ชื่นชมเนื่องจากแต่ละผลงานนนั้นมาจากฝีมือคนไทยล้วน ๆ เป้นนวัตกรรม ชุมชนเพื่อการนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชน สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ภายในชุมชนได้ดี หากสนใจบทความอื่น ๆ สามารถเข้าชมได้ที่ https://famertools.com/

 

 

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here