การเลี้ยง ปลาช่อน เพื่อการเกษตร ช่องทางประกอบอาชีพ รายได้ดี เพื่อให้ทุกคนที่สนใจในการเลี้ยงปลาช่อนนั้นได้รับความมูลที่ครบถ้วนและสามารถนำไปประยุกต์เพี่อการเลี้ยงปลาช่อนอย่างมีปนะสิทธิภาพ สามารถนำไปต่อยอดประกอดอาชีพ ให้มีรายได้เข้าครอบครัวได้อีกด้วย
ทำความรู้จักปลาช่อน
ปลาช่อนเป็นปลาน้ำจืดที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจอีกชนิดนึงของประเทศไทย มีส่วนหัวค่อนข้างโต รูปร่างทรงกระบอกยาว ครีบหางเรียวปลายมน ปากกว้าง ภายในปากมีฟันเขี้ยวบนเพดาน ลำตัวสีคล้ำอมมะกอกหรือน้ำตาลอ่อน มีลายเส้นทแยงสีคล้ำตลอดทั้งลำตัว 6-7 เส้น ด้านท้องสีจางตัดกับด้านบน ครีบสีคล้ำมีขอบสีเหลืองอ่อน ครีบท้องจาง มีขนาดลำตัวประมาณ 30-40 เซนติเมตร ใหญ่สุดได้ถึง 1 เมตร ปลาช่อนในบางพื้นที่ เช่น ที่จังหวัดสิงห์บุรี ขึ้นชื่อมาก เรียกกันว่า “ปลาช่อนแม่ลา” มีประเพณีพื้นถิ่นคือเทศกาลกินปลา โดยลักษณะเฉพาะของปลาช่อนแม่ลา คือ มีครีบหูหรือครีบอกสีชมพู ส่วนหางจะมีลักษณะมนเหมือนใบพัด ลำตัวอ้วน แต่หัวหลิม ไม่เหมือนปลาช่อนทั่วไป โดยเป็นปลาช่อนที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำลา อยู่ระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำน้อย ในเขตจังหวัดสิงห์บุรี เป็นแหล่งน้ำที่น้ำนิ่ง มีความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งอาหารตามธรรมชาติ ใต้ท้องน้ำปกคลุมไปด้วยพืชน้ำและวัชพืช ทำให้น้ำเย็น ดินก้นลำน้ำยังเป็นโคลนตมที่มีอินทรียวัตถุ แร่ธาตุที่ไหลมารวมกัน สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ทำให้ปลาช่อนแม่ลาถึงมีรสชาติดีกว่าปลาช่อนที่อื่น ๆ ซึ่งปัจจุบันด้วยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป มีการสร้างเขื่อนและประตูเปิด-ปิดน้ำ ทำให้แม่น้ำลาตื้นเขิน ปลาช่อนแม่ลาที่เคยขึ้นชื่อใกล้จะสูญพันธุ์ แต่ปัจจุบัน กรมประมงสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว และมีการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติเพื่อเป็นการอนุรักษ์
ข้อพิจารณาก่อนเลี้ยงปลาช่อน
1.พื้นที่ที่เลี้ยงปลาช่อนนั้นจะต้องใกล้แหล่งน้ำจืด ที่สามารถใช้ได้ตลอดปี
2.น้ำจะต้องไม่เป็นกรดหรือด่างมากเกินไป
3.พื้นที่ที่ทำการเลี้ยงจะต้องเป็นที่ดอน ราลลุ่ม น้ำไม่ท่วม
4.ในพื้นที่การเลี้ยงต้องเลือกพื้นที่ที่มีดินเหนียวหรือปนดินทราย
5.การคมนาคมต้องสะดวก สามารถเดินทางเข้า ออกได้อย่างง่ายดาย เพื่อสามารถออกไปซื้ออุปกรณ์การเลี้ยง อาหาร หรือการเข้าถึงต่าง ๆ ที่สะดวก
การเพาะพันธุ์ปลาช่อน
พันธุ์ปลาช่อนนั้นมี 2 แหล่งที่มาที่สามารถหาได้คือ แหล่งที่มาจากธรรมชาติ และแหล่งที่มาจากการเพาะพันธุ์ และสามารถทำการเพาะพันธุ์ปลาได้ 2 วิธีดังนี้
1.การเพาะพันธุ์โดยวิธีเลียนแบบธรรมชาติ
วิธีนี้ควรใช้บ่อเพาะพันธุ์ที่เป้นบ่อดินขนาด 0.5-1.0 ไร่ และจัดสภาพแวดล้อมเลียนแบบะรรมชาติ โดยปล่อยพ่อแม่พันธุ์ในอัตรา 1:1 และจะต้องคอยตรวจสอบการวางไข่ของปลาในบ่อทุกวัน
2.การเพาะพันธุ์โดยใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์
การเตรียมพ่อแม่พันธุ์
พ่อแม่พันธุ์ที่ใช้ในการการเพาะพันธุ์จะต้องเป้นปลาที่เลี้ยงเองตั้งแต่เด็กด้วยอาหารเม็ด เพื่อให้ปลาเชื่องและคุ้นเคยต่อการกักขังในช่วงอายุ 1-3 เดือน โดยตอนแรกทำการเลี้ยงในบ่อซีเมนต์แล้วจึงย้ายไปที่บ่อดินดินเพื่อให้ขนาดใหญ่ขึ้นช่วงอายุ 6-8 เดือน แล้วจึงนำมาเลี้ยงเป็นพ่อแม่พันธ์
การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์
การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์จะทำการพิจารณาจากลักษณะภายนอก แม่ปลาที่พร้อมสำหรับการผสมพันธุ์แล้วท้องจะอูม ช่องเพศกลมขยายใหญ่ สีชมพุหรือแดง ส่วนพ่อปลานั้นลำตัวจะยาวเรียว ช่องเพศจะเป็นติ่งยาวเรียวแหลมสีพื้นของท้องจะเข้มกว่าแม่ปลา
การฉีดฮอร์โมน
การฉีดฮอร์โมนจะใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ร่วมกับยาเสริมฤทธิ์ ฉีดให้แม่ปลาเพียงครั้งเดียวเท่านั้น โดยอัตราของฮอร์โมนสังเคราะห์จะอยู่ที่ 20-30 ไมโครกรัม/กิโลกรัม และยาเสริมฤทธิ์ 10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และพ่อปลาฉีดพร้อมแม่ปลาด้วยความเข้มข้นของฮอร์โนสังเคราะห์ เท่ากับ 10 ไมโครกรัม/กิโลกรัม กิโลกรัม และยาเสริมฤทธิ์ 10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ฉีดเข้าที่กล้ามเนื้อปลาหรือโคนครีบหู โดยขณะการฉีดนั้นปลาจะต้องอยู่ในน้ำตลอดเวลา
การผสมพันธุ์
หลังจากการฉีดฮอร์โมนเรียบร้อยแล้ว ให้ปล่อยพ่อแม่พันธุ์ลงผสมในถังพลาสติกทรงสูง น้ำลุก 60-70 เซนติเมตร ถังละ 1 คู่ นำเชือกใกมาฉีกเป็นฝอยเพื่อทำเป็นรังขา ปิดปากถึงด้วยตาข่ายพรางแสงสีดำ ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง ปลาจะรัดและทำการผสมพันธุ์ขางไข่เองตามธรรมชาติ โดยการผสมพันธุ์ปลานั้นจะต้องอยู่มรที่ที่เงียบสงบ ไม่มีเสียงรบกวน
โรคปลาและการป้องกัน
โรคพยาธิและอาการของปลาช่อนส่วนใหญ่ได้แก่
1.) โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย คือ แอโรโมนาส โฮโดรฟิลา เฟลคซิแบคเตอร์ คอลัมนาริส และไมโครแบคทีเรียม อาการของโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย โดยทั่วไปที่พบ ได้แก่ ผิวหนังบริเวณเกล็ดเกิดแผลที่มีลักษณะช้ำเป็นจุดแดงๆ สีลำตัวซีดหรือด่างขาว เมือกมากผิดปรกติ เกล็ดหลุด แผลเน่าเปื่อย ว่ายน้ำผิดปรกติ เสียการทรงตัวหรือตะแคงข้าง เอาตัวซุกขอบบ่อ ครีบเปื่อยแหว่งตาฟางหรือตาขุ่นขาว ตาบอด ปลาจะกินอาหารน้อยลง
2.) โรคที่เกิดจากพยาธิภายนอก อาทิ เห็บระฆัง ปลิงใส ฯลฯ พยาธิเห็บระฆังจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง เป็นแผลขนาดเล็กตามผิวตัวและเหงือก การรักษาใช้ฟอร์มาลิน 150-200 ลิตร ต่อน้ำ1,000 ลิตรแช่ประมาณ 24 ชั่วโมง หรือ 25-50 ซีซี. ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ประมาณ 24 ชั่วโมง 3. โรคที่เกิดจากพยาธิภายใน เช่น พยาธิหัวหนาม พบในลำไส้ ลักษณะอาการตัวผอมและกินอาหาร ลดลง การรักษาใช้ยาถ่ายพยาธิ แต่ทางที่ดีควรใช้วิธีป้องกัน
วิธีป้องกันโรค
ในฟาร์มที่มีการจัดการที่ดีจะไม่ค่อยประสบปัญหาปลาเป็นโรคแต่ในฟาร์มที่มีการจัดการที่ไม่ดีนั้นมักจะเกิดปัญหาปลาเป็นโรคตายมักจะเกิดขึ้นเสมอบางครั้งปลาอาจตายในระหว่างการเลี้ยงสูง ดังนั้นจึงควรมีวิธีป้องกันดังนี้คือ
1.ควรเตรียมบ่อและน้ำตามวิธีการที่เหมาะสมและปลอดภัยก่อนปล่อยลูกปลา
2.ซื้อพันธุ์ปลาที่มีสุขภาพแข็งแรงและปราศจากโรค
3.หมั่นตรวจดูอาการของปลาอย่างสม่ำเสมอ ถ้าเห็นอาการผิดปรกติต้องรีบหาสาเหตุและแก้ไขโดยเร็ว
4.หลังจากปล่อยปลาลงเลี้ยงแล้ว 3 – 4 วัน ควรราดน้ำยาฟอร์มาลิน 2 – 3 ลิตรต่อปริมาณ/ปริมาตรน้ำ 100 ตัน และหากปลาที่เลี้ยงเกิดโรคพยาธิภายนอกให้แก้ไขโดยสาดน้ำยาฟอร์มาลินในอัตรา 4 – 5 ลิตรต่อปริมาณ/ปริมาตรน้ำ 100 ตัน (การใช้น้ำยาฟอร์มาลินควรระวังเรื่องปริมาณออกซิเจนในน้ำ ถ้าต่ำมากควรมีการให้อากาศด้วย)
5.เปลี่ยนถ่ายน้ำจากระดับพื้นบ่ออย่างสม่ำเสมอ
6.อย่าให้อาหารมากเกินความต้องการของปลา
บทสรุป
ปลาช่อนเป็นปลาน้ำจืดที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ ที่สามารถเพาะเลี้ยงได้ง่าย สามารถทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้นในการประกอบอาชีพเลี้ยงปลา เพราะสามารถนำไปขายในตลาด และนำมาประกอบอาหาร แปรรูปได้หลายอย่าง สามารถมีรายได้เสริมได้เพิ่มมากขึ้น
ดูบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติม https://famertools.com/