การเลี้ยง และการเพาะพันธุ์ ปลาแรด สัตว์น้ำจืดขนาดใหญ่ นิยมนำมาประกอบอาหาร

0
1249
ปลาแรด

การเลี้ยง และการเพาะพันธุ์ ปลาแรด สัตว์น้ำจืดขนาดใหญ่ นิยมนำมาประกอบอาหาร ปลาที่มีถิ่นกำเนิดดในประเทศอินโดนีเซียแถบหมู่เกาะสุมาตราชวาบอร์เนียวและหมู่เปลาแรดมีชื่อเสียงอีกอย่างหนึ่งว่า “ปลาเม่น” ปัจจุบันปลาแรดที่อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำธรรมชาติมีจำนวนลดน้อยลง เนื่องจากแหล่งน้ำตื้นเขินขาดแหล่งวางไข่และแหล่งเลี้ยงลูกปลาวัยอ่อนที่เหมาะสม เลี้ยงปลาแรดเป็นจำนวนมากจะทำให้มีปลาแรดบริโภคกันอย่างกว้างขวาง และยังช่วยอนุรักษ์ปลาแรดไม่ให้สูญพันธุ์

ทำความรู้จักกับ ปลาแรด

ปลาแรด มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Osphronemus goramy เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งในวงศ์ย่อย Osphroneminae ซึ่งอยู่ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae นับเป็นปลาแรดชนิดที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด มีถิ่นกำเนิดในกำเนิดในประเทศอินโดนีเซียแถบหมู่เกาะสุมาตราชวาบอร์เนียว ซึ่งมีการขุดพบหลักฐานซากฟอสซิลของปลาแรดชนิด O. goramy บนเกาะสุมาตรา ทำให้ยืนยันได้ว่าบริเวณหมู่เกาะแถบนี้เป็นต้นกำเนิดของปลาแรด ปัจจุบัน พบแพร่กระจายอยู่ตามแหล่งน้ำจืดธรรมชาติทั่วไปในประเทศแถบเอเชียตะออกเฉียงใต้ เช่น พม่า ลาว อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลลิปปินส์ และไทย รวมถึงประเทศอินเดีย

ลักษณะของปลาแรด

ปลาแรกเป้นปลาในตระกูลเดียวกับปลาหมอไทย  ปลาหมอตาล ปลากริม ปลากัด ซึ่งมีลักษณะเด่นในความอดทนอย่างมาก ลำตัวป้อมสั้นและแบนข้าง มีหัวที่ค่อนข้างเล็ก  มีความยาวจากหัวถึงหางเป็น 2 เท่า ของความกว้างลำตัว (สันหลังถึงท้อง หรือเรียกว่า แนวลึก) ซึ่งเมื่อโตเต็มที่จะมีความยาวได้มากกว่า 30-45 เซนติเมตร และอาจพบยาวได้มากถึง 50-60 เซนติเมตร มีส่วนหัวค่อนข้างเล็ก มีจะงอยปากแหลม โดยมีขากรรไกรล่างยื่นยาวมากกว่าขากรรไกรบนเล็กน้อย บนขากรรไกรภายในปากมีฟันซี่เล็ก ลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อนหรือค่อนข้างเทาครีบหลังครีบก้นยาวมาก ตอนล่างมีสีเงินแกมเหลืองส่วนจุดที่โคนหางจะเลือนหายไป ครีบหลังมีจำนวนก้านครีบแข็ง 12-16 อัน ก้านครีบอ่อน 10-11 อัน ครีบก้นมีก้านครีบแข็ง 9-13 อัน ก้านครีบอ่อน 17-18 อันครีบท้องมีก้านครีบแข็ง 1 อัน ก้านครีบอ่อน 5 อัน ก้านครีบอ่อนคู่แรกของครีบท้องมีลักษณะเป็นเส้นยาว ครีบหางกลม เกล็ดตามเส้นข้างตัว 30-33 เกล็ดมีจุดดำที่โคนหาง 1 จุด สีดำจางเป็นแถบพาดขวางลำตัวข้างละ 8 แถบ มีสีเงินรอบ ๆ จุด ทำให้สามารถมองเห็นจุดเด่นที่ดูคล้ายกระดี่หม้อแต่ปลากระดี่หม้อมีจุดดำข้างละ 2 จุด เมื่อโตแล้วจะมีนอที่หัว

อุปนิสัยของปลาแรด

ปลาแรดเป็นปลาที่ค่อนข้างตื่นตกใจได้ง่าย จะชอบอาศัยอยู่ตามแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึงและทะเลสาบ และชอบอยู่ในที่เงียบสงัด ผู้ที่ทำการเลี้ยงปลาแรดสามารถฝึกให้เชื่องได้โดยการให้อาหาร ปลาแรดที่มีขนาดเล็กนั้นจะชอบทำร้ายกันเอง เป็นปลาที่มีความอดทนอย่างมากเมื่อถูกจับขึ้นจากน้ำ สามารถมีชีวิตอยู่บนบกได้นานเพราะมีอวัยวะพิเศษที่ช่วยให้หายใจได้นานขึ้น มีลักษณะเป็นเยื่ออ่อน ๆ อยู่ในหัวตอนเหนือเหงือก สามารถเก็บน้ำไว้หล่อเลี้ยงเพื่อให้ความชุ่มชื้นแก้เหงือกในเวลาที่ปลาแรดถูกจับเหนือน้ำ

การอนุบาลปลาแรด

ก่อนที่จะทำการอนุบาลปลานั้นจะต้องมีการเตรียมบ่อในการอนุบาลูกปลา ซึ่งจะต้องมีขนาด 400-800 ตารางเมตร ส่วนบ่อซีเมนต์ 5 ตัว/ตารางเมตร ในช่วง 10 วันแรกที่ลงบ่อดินให้ไรแดงเป็นอาหาร และ 10 วันต่อมาให้ไรแดงและรำผสมปลาป่นอัตราส่วน 1:3 สาดให้ทั่วบ่อ หลังจากนั้นจึงเปลี่ยนเป็นอาหารต้มหรืออาหารเม็ดลอยน้ำวันละ ประมาณ 3-5 เปอร์เซ็นต์ อนุบาลจนกระทั่งลูกปลามีขนาด 3 นิ้ว เพื่อนำไปเลี้ยงเป็นปลาขนาดตลาดต้องการต่อไป ลูกปลา 1 เดือนจะมีขนาดยาวประมาณ 1 ซม. เดือนที่จะมีความยาว 2-3 ซม. ซึ่งจะเป็นขนาดลูกปลาที่จะนำไปเลี้ยงเป็นปลาโตต่อไป

แหล่งที่มาจาก การเลี้ยงปลาแรด

การเลี้ยงปลาแรด

การเลี้ยงปลาแรดนั้นมีอยู่ 2 ลักษณะที่สามารถทำได้ตามความถนัดของแต่ละคน

1.การเลี้ยงในบ่อดิน

การเลี้ยงในบ่อดินไม่ควรใช้บ่อที่ลึกมากกว่า 1.5 เมตร โดยใช้ความลึกบ่อประมาณ 1-1.5 เมตร เท่านั้น โดยทางการแนะนำว่าอัตราการปล่อยปลาที่เหมาะสมอยู่ที่ 1 ตัวต่อ 1 ตารางเมตร เลี้ยง 1 ปี จะได้ปลามีน้ำหนัก 1 กก. สามารถเลี้ยงรวมกับปลากินพืชชนิดอื่น ๆ ได้ โดยในบ่อเลี้ยงควรมีพืชน้ำหรือวัชพืชขึ้นเพื่อให้ปลากินและเป็นการทำความสะอาดบ่อไปในตัวด้วย

2.การเลี้ยงในกระชัง

วิธีนี้จะเป็นวิธีที่นิยมมากที่สุด สร้างกระชังที่มีความกว้าง 3 วา ยาว 6 วา ความลึก 1.8 เมตร กระชังจราดดังกล่าวสามารถเลี้ยงปลาแรดขนาด 3นิ้ว ได้ 3,000 ตัว ซึ่งใช้ไม้เนื้อแข็งเป็นตัวกระชัง มีอายุการใช้งานไม่น้อยกว่า 5 ปี กระชังเลี้ยงปลา โดยมีอัตราการปล่อยลูกปลา ในระยะ 2 เดือนแรก ปล่อยประมาณ 100-150 ตัว/ตารางเมตร และระยะที่2 อายุ 2เดือนขึ้นไป ให้จับแยกปล่อยประมาณ 15-20 ตัว/ตารางเมตร

การให้อาหาร

เนื่องจากปลาแรดเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย สามารถกินพืชและสัตว์เล็กเป็นอาหารเช่น ลูกน้ำ ปลวก ลูกเขียด ตัวหนอน ซึ่งอาหารเหล่านี้เป็นอาหารสำหรับปลาที่ยังมีขนาดเล็ก ส่วนปลาที่ดตแล้วจะกินอาหารจำพวกผักเช่น ผักบุ้ง ผักกระเฉด ใบข้าวโพด นอกจากนี้ยังสามารถให้อาหารประเภทรำต้ม เศษอาหารหรือกากมะพร้าวบ้างเป็นครั้งคราวก็จะทำให้ปลาแรดมีการเจริญเติบโตที่ดี

เมนูจาก ปลาแรด

ปลาแรดนึ่งพริกมะนาว

ปลาแรด

เมนุสุดแซ่บเอาใจคนชอบอาหารรสจัดจ้าน ด้วยวัตถุดิบที่ครบเครื่อง และปลาแรดที่นำไปนึ่งเนื้อนิ่ม เป็นเมนูที่ต้องลองทำสักครั้ง เพื่อรับรสชาติความแซ่บ อร่อย สูตรจาก Krua.co

 ปลาแรดทอดกระเทียม

ปลาแรด

เมนูยอดนิยมที่นำเอาปลาแรดไปทอดกับกระเทียม ความหอมของกระเทียมและปลาแรดที่ถูกทอดกรอบเมื่อทานพร้อมกันนั้นอร่อยอย่างลงตัว

ปลาแรดนึ่งซีอิ๊ว

ปลาแรด

เป็นเมนูที่น่ารับประทานอย่างมาก ด้วยเนื้อปลาที่ถูกนำไปนึ่งกับสมุนไพรไม่มีกลิ่นคาว เนื้อหวาน นุ่ม ราดด้วยซอสซีอิ๊วขาวผสมน้ำมันงากับเหล้าจีนให้มีความกลมกล่อม เข้ากันอย่างลงตัว

การเลี้ยง และการอนุบาล ปลาแรด สัตว์น้ำจืดขนาดใหญ่ ที่นิยมนำมาประกอบอาหาร เชื่อว่าทุกท่านคงได้รับความรู้ที่เรานำมาฝากไปอย่างมากมาย ในการเลี้ยง และอนุบาลปลาแรด ปลาที่มีขนาดมใหญ่ และผู้คนนิยมนำมาทำเป็นอาหาร หรือบางคนนั้นนำปลาแรดมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงามก็มี หวังว่าจะชอบกับบทความนี้ และถ้าหากอยากติดตามบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจสามารถ Click

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here