ปลูกแตงกวา ในขวดพลาสติก ประหยัดพื้นที่ ทำได้ง่าย ๆ !!

0
822

ในปัจจุบันมักมีการปับปรุงพัฒนาการเกษตรให้มีแบบแผนที่ทันมัย เพื่อให้สามารถทำการเกษตรได้ง่ายมากขึ้น การปลูกแตงกวาในขวดพลาสติดก็เป็นอีกหนึ่งวีที่จะช่วยให้ทำการเกษตรได้ง่าย แถมยังสามารถใช้วัสดุที่มีมาใช้ให้เกิดประโยชน์เป็นการลดต้นทุนที่คุ้มค่า และยังสามารถลดพื้นที่ในการปลูก ให้เหลือพื้นที่ในการปลูกพืชผักอย่างอื่นได้

ทำไมต้องปลูกแตงกวาในขวดพลาสติก

นอกจกาการปลูกแตงกวาในขวดพลาสติดจะช่วยในการประหยัดพื้นที่ และประหยัดต้นทุนแล้วยังช่วยให้ผักรู้สึกสบายตัวและยังได้เรือนกระจกขนาดเล็กที่สะดวกกระทัดรัด สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย อีกทั้งยังช่วยให้เติบโตได้เร็วขึ้นอีกด้วย

สารอาหารในแตงกวาที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

  • เส้นใยอาหาร แตงกวาเป็นแหล่งของเส้นใยอาหารที่อาจบำรุงระบบขับถ่าย และอาจช่วยในเรื่องของการควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์สุขภาพดีได้
  • สารพฤกษเคมี หรือ ไฟโตนิวเทรียนท์ (Phytochemicals) เป็นสารตามธรรมชาติที่พบได้ในอาหารจำพวกพืชผักผลไม้ ซึ่งในแตงกวามีสารชนิดนี้ ได้แก่ ฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) คิวเคอร์บิทาซิน (Cucurbitacin) และลิกแนน (Lignan)
  • สารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidants) เป็นสารที่เชื่อว่าอาจมีฤทธิ์ช่วยลดหรือกำจัดสารอนุมูลอิสระที่เป็นอันตรายต่อเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายได้ เช่น เบต้าแคโรทีน แมงกานีส
  • วิตามิน ในแตงกวาอุดมไปด้วยวิตามินต่าง ๆ ที่ให้พลังงานและเป็นประโยชน์ต่อระบบภูมิคุ้มกันร่างกายแข็งแรง อย่างวิตามินเอ วิตามินบี และวิตามินซีที่ช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง
  • แร่ธาตุ แตงกวามีแร่ธาตุหลายชนิดที่อาจเป็นผลดีต่อสุขภาพผิวและระบบหมุนเวียนโลหิตได้ เช่น ซิลิกอน โพแทสเซียม และแมกนีเซียม เป็นต้น สปาหลาย ๆ ที่จึงนิยมนำไปใช้เป็นทรีทเมนท์

ปลูกแตงกวา

สรรพคุณของแตงกวา

  • ช่วยแก้กระหายน้ำได้ เนื่องจากในตัวแตงกวานั้นปรกอบด้วยน้ำถึง 90 เปอร์เซ็นต์ สามารถชดเชยน้ำที่ขาดไปได้
  • แตงกวาช่วยในการเผาหลาญได้ดี หากใครที่ต้องการลดน้ำหนักแตงกวาเป็นตัวเลือกที่ดีที่จะทำให้ช่วยในเรื่องของการลดน้ำหนักได้ เพราะแตงกวาประกอบด้วยน้ำโดยส่วนใหญ่ และยังมีแคลอรี่ต่ำ
  • แตงกวาช่วยในการลดการอักเสบ หากใครมีถุงใต้ตาที่บวม สามารถนำแตงกวามาฝานเป็นแว่นแล้วโปะไว้ที่บริเวณถุงใต้ตาช่วยลดอาการบวมได้ดี
  • แตงกวาช่วยรักาอาการเมาค้างได้ดี ลดอาการปวดหัวโดยแนะนำให้ทานแตงกวาหลังจากดื่มแอลกอฮอล์ เพราะแตงกวามีวิตามินบีและน้ำตาลช่วยลดอาการเมาค้างได้
  • แตงกวาช่วยป้องกันมเร็ง  ในแตงกวามีสารพฤกษเคมีอย่างฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) คิวเคอร์บิทาซิน (Cucurbitacin) และลิกแนน (Lignan) ซึ่งเชื่อกันว่าสารเหล่านี้มีฤทธิ์ต้านการอักเสบและต้านสารอนุมูลอิสระที่อาจก่อมะเร็งได้ จึงคาดว่าแตงกวาอาจมีประสิทธิภาพต่อการป้องกันมะเร็งได้
  • แตงกวาช่วยผู้เป็นโรคเบาหวาน ลดคอเลสเตอรอลและควบคุมความดันโลหิต โดยแตงกวามีฮอร์โมนที่เซลล์ตับอ่อนใช้ในการผลิตอินซูลินซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยเบาหวาน ผลวิจัยพบว่าสารประกอบในแตงกวาสามารถช่วยลดคอเลสเตอรอลได้ ทั้งยังมีไฟเบอร์ โพแทสเซียม และแมกนีเซียม เป็นส่วนช่วยควบคุมความดันโลหิตให้เป็นปกติ แตงกวาจึงส่งผลดีแก่ผู้ที่มีความดันสูงหรือความดันต่ำ
  • ช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบประสาท ระบบกล้ามเนื้อ ระบบการหมุนเวียนเลือด
  • ช่วยกำจัดของเสียที่ตกค้างในร่างกาย
  • ช่วยในการขับถ่าย ป้องกันและแก้อาการท้องผูก
  • ช่วยแก้อาการเจ็บคอ โดยใช้นำคั้นจากผลแตงกวานำมากลั้วคออย่างน้อยวันละ 3 ครั้งจะช่วยทำให้อาการดีขึ้น
  • น้ำแตงกวาช่วยลดอาการนอนไม่หลับ
  • ส่วนใบของแจงกวาช่วยแก้อาการท้องเสีย บิด
  • ช่วยรักษาสมดุลต่าง ๆ ในร่างกาย รักษาระดับน้ำตาลในเลือด ระดับภูมิคุ้มกันให้อยู่ในสุขภาพดี

การเตรียมขวดพลาสติก

การปลูกแตงกวาให้มีผลที่สวยงามและประสบความสำเร็จจะต้องเตรียมพื้นที่เพาะปลูกให้เหมาะสม โดยนำขวดพลาสติกมาตัดส่วนกลางแค่ฝั่งเดียวของขวดออก ให้มีพื้นที่ที่เหมาะสมสามารถใส่ดิน และใส่เมล็ดแตงกวาได้อย่างพอดี จะต้องกะพื้นที่เผื่อตอนที่มีการเจริญเติบโต และจะต้องทำรูระบายน้ำ เพื่อนะบายความชื้นหลังการให้น้ำ โดยการนำมีดหรือตะปูมาเจาะให้เป็นรู

การเตรียมดิน

ก่อนการปลุกแตงกวาจะต้องเตรียมดินที่ร่วนพรุน ควรรองด้วยปุ๋ยหมักที่ชั้นด้านล่าง โดยผสมกับเศษหิน ข้อดีคือให้ดินโปร่ง หรือจะซื้อได้ตามร้านค้าการเกษตรทั่วไป

การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์

โดยการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์นั้นจะต้องเป็นเมล็ดพันธุ์ที่มีความสมบูรณ์ ซึ่งหาซื้อได้ตามร้านที่ขายพืชพันธุ์การเกษตรที่น่าเชื่อถือ บรรจุภัณฑ์สามารถป้องกันความชื้อนหรืออากาศจากภายนอกได้ดี ลักษณะเมล็ดแตงกวาควรมีการคลุกสารเคมี เพื่อป้องกันศัตรูพืชที่อาจติดมากกับเมล็ด

การปลูกแตงกวา

การปลูกแตงกวานั้นสามารถทำได้ 2 วิธีคือการหยอดเมล็ดโดยตรงและการเพาะกล้าก่อนแล้วค่อยย้ายมาปลูก ซึ่งการหยอดเมล็ดโดยตรงนั้นเป้นวิธีที่ง่าย และสะดวก เกษตรกรนิยมใช้วิธีนี้ แต่ข้อเสียของมันคือสิ้นเปลืองเมล็ด ซึ่งหากใช้เมล็ดที่มีราคาแพงจะเกิดความสูญเสีย แต่การปลูกแบบเพาะนั้นจะช่วยในการประหยัดเมล็ดพันธุ์ ดูแลรักษาง่าย และต้นกล้ามีความสม่ำเสมอ

การให้น้ำ

หลังจากที่ทำการปลูกเสร็จเรียบร้อยแล้วจะต้องให้น้ำทันที ช่วงเวลาในการให้น้ำในระยะแรกควรให้ 2-3 วันต่อครั้งและเมื่อแตงกวาเริ่มมีการเจริญเติบโตจึงปรับการให้น้ำที่นานขึ้น แต่จะต้องให้น้ำกระจายทั่วทุกพื้นที่ และต้องตรวจสอบพื้นดินไม่ให้ชื้นจนเกินไป มิเช่นนั้นจะทำให้รากเน่าได้

ข้อดีของการ ปลูกแตงกวา ในขวด

ประการแรกของการที่ปลุกแตงกวาในขวดเลยคือช่วยประหยัดพื้นที่ได้อย่างดี เหมาะสำหรับใครที่มีพื้นที่ที่จำกัด แต่อยากจะปลูกเพื่อรับประทานเองอาจจะเป็นในพื้นที่อพาร์ทเม้นท์คอนโดมิเนียม หรือสวนที่บ้านที่มีพื้นที่ไม่ใหญ่มากนัก และกาปลูกในขวดพลาสติกนั้นไม่จำเป็นต้องรดน้ำบ่อย หมดปัญหาการเน่าตาย อีกทั้งยังช่วยให้แตงกวาสามารถเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว

ข้อเสียของการ ปลูกแตงกวา ในขวด

เนื่องจากการปลูกแตงกวาในขวดมีความอุ้มน้ำพอสมควร อาจทำให้เสี่ยงเกอดโรคจากน้ำได้ และเกิดตะไคร่น้ำได้ สิ่งนั้นจะทำให้แตงกวารับสารอาหารได้ไม่เต็มที่ และการดูแลที่ง่ายหากมีการปล่อยปละละเลยจะทำให้เน่าตายได้ และการให้ปุ๋ยก็จะไม่เต็มที่มากนัก เนื่องจากปุ๋ยที่ใช้เป้นปุ๋ยน้ำที่ช่วยในเรื่องของการเจริญเติบโต แต่ปุ๋ยบางชนิดก็ไม่สามารถใช้กับการปลูกในขวดพลาสติก ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดเชื้อรา เนื่องจากมีการแช่อยุ่ในน้ำเป็นเวลานาน

บริโภคแตงกวาในปริมาณที่พอเหมาะ

  • แตงกวามีหลากหลายสายพันธุ์ ซึ่งอาจมีสารประกอบที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งในขณะนี้ ยังไม่มีข้อมูลชัดเจนด้านความปลอดภัยและปริมาณที่แนะนำให้รับประทานต่อวัน ดังนั้น ผู้บริโภคจึงควรรับประทานแตงกวาในปริมาณที่พอดีตามมื้ออาหาร และไม่บริโภคแตงกวาเพื่อจุดประสงค์ทางการรักษาโรคหรืออาการป่วยใด ๆ จนกว่าจะมีข้อพิสูจน์ที่แน่ชัดในทางการแพทย์
  • ก่อนรับประทานแตงกวา ควรล้างทำความสะอาดและอาจปอกเปลือกออกก่อน เพื่อชำระล้างสารพิษตกค้างหรือสิ่งปนเปื้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
  • หากรับประทานแตงกวาฝานเป็นแผ่นประมาณครึ่งถ้วย จะให้พลังงานประมาณ 8 แคลอรี่ ซึ่งอาจได้รับวิตามินเค มากกว่า 10% ของปริมาณที่แนะนำ/วัน

บทสรุป

การปลูกแตงกวาในขวดพลาสติดเป็นเรื่องที่ง่ายดาย โดยใช้วัสดุที่หาได้ง่าย ช่วยในการประหยัดพื้นที่ภายในบ้าน หรือเหมาะสำหรับใครที่มีพื้นที่ที่จำกัดแต่จะอยากจะปลุกไว้เพื่อรับประทานเอง และยังเป็นการรีไซเคิล โดยการนำขวดพลาสติกที่ไม่ใช้แล้วมาทำให้เกิดประโยชน์

ดูบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติม https://famertools.com/

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here