5 พืชเศรษฐกิจ ของไทยในปัจจุบัน สร้างรายได้ให้เกษตรกรอย่างยั่งยืน

0
772
พืชเศรษฐกิจ

ครั้งนี้เราจะจะพาเพื่อน ๆ ทุกคนไปรู้จักกับ 5 พืชเศรษฐกิจไทย ในปัจจุบัน สร้างรายได้ให้เกษตรกรไทยอย่างยั่งยืน เพื่อได้รู้ว่าประเทศไทยนั้นมีพืชเศรษฐกิจมีอะไรบ้าง เพราะเป้นที่ทราบกันดีว่าประเทศไทยเป้นประเทศอู่ข้าวอู่น้ำมีทรัพยากรที่สมบูรณ์ พืชพันธุ์เจริบเติบโตได้ผลผลิตดี ทำให้คนไทยได้มีอาชีพที่สามารถเลี้ยงปากเลี้ยงท้องและยังช่วยสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนเกษตรกร จนไปถึงขั้นสร้างรายได้ให้แก่ประเทศจนกลายเป็น พืชเศรษฐกิจ ที่หลายคนยึดถือประกอบอาชีพ 

ความหมาย พืชเศรษฐกิจ 

พืชที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต สามารถนำไปใช้ในการอุปโภคบริริโภค เป็นแหล่งอาหารและพลังงานของมนุษย์และสัตว์ มีลักษณะเด่นทางการค้าทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ สามารถปลูกพืชเพื่อสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร และประเทศได้ดี

ความสำคัญของพืชเศรษฐกิจ

  • ความสำคัญในด้านอาหาร

เป็นที่ทราบกันดีว่าพืชนั้นเป็นแหล่งอาหาร ที่มาจากสภาพแวดล้อมและวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ความมั่นคงทางอาหารของดลกมีแนวโน้มจะเป็นปัญหาสำคัญ ในขณะที่ความต้องการอาหารประเภทพืชเพิ่มขึ้นตามจำนวนประชากร แต่พื้นที่ในการปลูฏพืชนั้นกลับลดลง แม้ว่าเทคโนโลยีที่มีอยู่จะยังไม่สามารถส่งเสริมในภาคการผลิตให้มีประสิทธิภาพได้มากเท่าความต้องการ แต่หากมีการวางแผนและปรับโครงสร้างต่าง ๆ เกี่ยวกับพืชเศรษฐกิจอย่างรอบคอบแล้วจะช่วยสามารถช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนอาหารไปได้อย่างมาก

  • ความสำคัญในด้านพลังงาน

ประเทศไทยยังขาดความมั่นคงในด้านพลังงาน เนื่องจากต้องนำเข้าน้ำมันเข้าปีละไม่ต่ำกว่า 1 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นพลังงานหลักในปัจจุบันที่มีจำกัดวันหนึ่งจะหมดไปและจะทำให้เกิดผลกระทบทุกภาคส่วน การมีพลังงานทดแทนของตนเองย่อมดีกว่าอยู่แล้ว เพราะประเทศไทยมีแหล่งเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจที่หลากหลายชนิด สามารถนำมาผลิตเป็นพลังงานทดแทนได้ และไบโอดีเซลที่ผลิตมาจากปาล์มน้ำมันนั้นเป็นตัวอย่างหนึ่งที่ได้รับเสียงตอบรับดีในวงการเกษตรกร และจะต้องได้รับการสนับสนุนและการผลักดันเพื่อให้เกิดการใช้งานที่แพร่หลายมากขึ้น

  • ความสำคัญในด้านการส่งออก

พืชเศรษฐกิจของไทยเป็นพืชที่สามารถส่งออกไปยังต่างประเทศที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร และประเทศได้มากกว่าแสนล้านบาท จากข้อมูลของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ระบุว่า พืชเศรษฐกิจ 6 ชนิด อันได้แก่ ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน อ้อย และข้าวโพด ที่เพาะปลูกโดยครัวเรือนเกษตรกรของประเทศไทย ที่เป็นที่ต้องการของตลาดอย่างต่อเนื่อง หากเกษตรกรหันมาสนใจในการผลิตพืชเศรษฐกิจมากขึ้น ก็จะมีแนวโน้มว่ามูลค่าในการส่งออกจะเพิ่มขึ้น

ประเภทของ พืชเศรษฐกิจ

เมื่อเราได้รู้ความหมายและความสำคัญของพืชเศรษฐกิจไปแล้ว ต่อมาเราก็จะพามาทำความรู้จักกับประเภท ของพืชเศรษฐกิจที่มีความหลากหลาย โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

1.พืชไร่

พืชเศรษฐกิจลำดับต้น ๆที่มีการปลูฏมากที่สุด เป็นพืชที่ได้นับการปลูฏบนพื้นที่ที่มีขนาดกว้าง ราบลุ่มหรือที่ดอน มีน้ำเข้าถึง่ายเป็นพืชที่จัดอยู่ในกลุ่มอายุสั้น พืชล้มลุก ดูแลรักษาง่าย ไม่ต้องมีขั้นตอนการปังกันความเสียหายที่มากมายนัก มีอายุเฉลี่ยแล้วอยู่ที่ 45 วัน ไปจนถึง 1 ปี จากนั้นก็ต้องเก็บเกี่ยวผลผลิตก่อนที่จะแห้งเหี่ยวตายไปเอง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับวงจรชีวิตที่ต่างกันออกไปตามชนิดของพืชนั้น ๆ ด้วย 

ตัวอย่าง พืชไร่
  • อ้อย
  • สับปะรด
  • มันสำปะหลัง
  • ข้าวโพด
  • กาแฟ
  • มะพร้าว

2.พืชสวน

เป็นพืชที่ถูกปลูกในสวน มีการดูแลอย่างประณีต มีอายุยืนสามารถเก็บเกี่ยวได้เป้นเวลานานหลายปี โดยแบ่งออกได้ดังนี้

  • พืชผัก เป็นกลุ่มที่มักใช้ในการประกอบอาหาร ที่นำเอาส่วนต่าง ๆ ของพืชอย่างดอก ใบ ราก ต้น มาประกอบอาหารให้ได้รับประทาน
  • พืชผล หรือผลไม้ โดยส่วนใหย่จะเป็นพืชที่มีอายุยืนนาน จึงจะให้ผลผลิต โดยในการทำสวนจะต้องทำการศึกษา ความชำนาญ และความหมั่นเพียรเพื่อดูแลให้ออกผลที่ดีตามที่ต้องการ

3.ไม้เศรษฐกิจ  

ไม้ที่สามารถนำมาสร้างมูลค่าหรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาทิเช่น ไม้ใช้สอย ไม้ตกแต่ง ไม้ก่อสร้าง แต่จะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเรื่องการบุกรุกป่า หรือการตัดไม้ทำลายป่า 

5 พืชเศรษฐกิจ ของไทยในปัจจุบัน สร้างรายได้ให้เกษตรกรอย่างยั่งยืน

1.ข้าว

พืชเศรษฐกิจ

ข้าวเป็นพืชเศรฐกิจและอาหารหลักของคนไทยและผู้คนจำนวนมาก ซึ่งข้าวจากไทยนั้นยังเป้นที่ต้องการจากหลายประเทศคู่ค้าอย่างมาก และพันธุ์ข้าวที่ถูกยกย่อว่าดีที่ของโลกอย่าง ข้าวหอมมะลิ เป็นข้าวที่มีรสสัมผัสที่เนียนนุ่ม และรสชาติความหวานในตัว นอกจากข้าวหอมมะลิแล้วนั้น ประเทศไทยยังผลิตข้าวอื่น ๆ เช่น ข้าวเหนียว, ข้าวหอม, ข้าวขาวพื้นแข็ง เป็นต้น ซึ่งพันธุ์ข่าวที่ถูกส่งออกมากที่สุดได้แก่ ข้าวขาวพื้นแข็ง คิดเป็นเกือบ 50% ของข้าวพันธุ์อื่น ๆ โดยกลุ่มประเทศที่เป็นคู่ค้ารายใหญ่ในการส่งออกข้าวของประเทศไทยคือ จีน และสหรัฐฯ และข้าวนั้นมี 2 ประเภทในการปลูกที่แบ่งตามคุณภาพได้ดังนี้

  • ข้าวนาปี เป็นข้าวที่ปลูกในฤดุทำนาในช่วเงวลาปกติ หรือเรียกได้ว่าเป็นข้าวไวแสงนาข้าวที่ทำในระหว่างเดือนเมษายนจนถึงเดือนกุมภาพันธ์  
  • ข้าวนาปรัง คือนาข้าวที่ต้องทำนอกฤดูทำนาเพราะในฤดูทำนา น้ำมักจะมากเกินไป  ซึ่งข้าวที่ใช้ทำนาปรังจะเป็นข้าวที่แสงไม่มีอิทธิพลต่อการออกดอก ซึ่งเรียกว่า “ข้าวนาปรัง” หรือ “ข้าวไม่ไวแสง”  ซึ่งเป็นข้าวที่ออกตามอายุ ไม่ว่าจะปลูกเมื่อใด พอครบอายุก็จะเก็บเกี่ยวได้

2.ยางพารา

พืชเศรฐกิจ

เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญรองลงมาจากข้าวเลยก็ว่าได้ เนื่องยางเป็นสิ่งที่ตลาดโลกมีความต้องการอย่างลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้เกษตรกรไทยมีการพัฒนาการปลูกยางพาราให้มีคุณภาพที่ดีตามความต้องการของตลาดโลก แม้จะมีราคาที่ปรับขึ้น-ลงอยู่ตลอดตามความเหมาะสม แต่ก็ยังเป็นพืชเศรษฐกิจที่สามารถสร้างรายได้ดีเนื่องจากยางพาราสามารถนำไปผลิตเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่มนุษย์เรานำมาใช้งานเช่น ยางรถยนต์ , ยางกันรั่ว, ถุงยางอนามัย เป็นต้น  ปัจจุบันสามารถปลูกได้ทั่วประเทศไทยจึงทำให้กลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอย่างมาก

3.อ้อย

พืชเศรษฐกิจ

เรียกได้ว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่กำลังเป็นที่ต้องการสูงมาก ๆ ในต่างประเทศเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ซึ่งการส่งออกอ้อยนั้นไม่ได้ส่งอ้อยสด ๆ เพียงอย่างเดียวเท่านั้นแต่ยังมีการนำอ้อยไปแปรรูปเป็นน้ำตาลทรายเพื่อใช้ในการปรุงอาหาร ซึ่งอ้อยสามารถสร้างรายได้ให้แก่ประเทศเป็นอันดับสองรองจากประเทศบราซิล แสดงให้เห็นว่าอ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญในการสร้างรายได้ต่อเกษตรกรและประประเทศอบ่างมาก

4.ปาล์มน้ำมัน 

พืชเศรษฐกิจ

เนื่องจากโลกของเรามีการพัฒนาอยู่ตลอด กานำพืชหลาย ๆ ชนิดไปแปรรูปจึงเป็นเรื่องที่ไม่ยาก และการนำปาล์มน้ำมันมาแปรรูปเพื่อเป็นน้ำมันปล์มเพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศ สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรได้อย่างดี แม้ปาล์มน้ำมันไม่ใช่พืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำจำนวนมหาศาล แต่คนไทยก็นิยมปลูฏกันมากเพราะเป็นพืชที่มีผลผลิตดี ดูแลไม่ยาก และยังสามารถนำไปใช้ภายในประเทศเองได้อีกด้วย

5.มันสำปะหลัง

พืชเศรษฐกิจ

พืชอีกชนิดที่สามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศไทยอย่างมหาศาล ซึ่งมันสำปะหลังนั้นไม่ได้นำไปใช้ในการประกอบอาหาร แต่จะถูกนำไปแปรรูปเป็นอาหารสัตว์ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง และยังสามารถนำไปผลิตน้ำมันเอทานอลเพื้อไปใช้งานทดแทนพลังานจากน้ำมันดิบได้ ส่งผลให้มันสำปะหลังเป้นพืชเศรษฐกิจเป็นพืชที่มีความต้องการในตลาดโลกที่สูงมากขึ้นเรื่อย ๆ

บทสรุป

เป็นอย่างไรบ้างกับ 5 พืชเศรษฐกิจ ของไทยในปัจจุบัน สร้างรายได้ให้เกษตรกรอย่างยั่งยืน ที่เราได้นำมาฝากทุกท่านให้ได้ทราบถึงความหมายและความสำคัญของพืชเศรษฐกิจเหล่านี้ที่สามารถสร้างเม็ดเงินให้แก่ประเทศไทยได้อย่างมหาศาล และยังให้เกษตรกรสามารถลืมตาอ้าปากได้ รวมถึงสาระน่ารู้ต่าง ๆ ที่เราได้นำมาฝาก หวังว่าจะได้รับประโยชน์ไปอย่างล้นหลาม สามารถแวะชมบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจได้ที่ Click

 

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here