ครั้งนี้จะพาไปดู วิธีการดูแลรักษาฟาร์มไก่ไข่ มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์กำหนดมาตรฐาน เพื่อให้เกษตรกรและคนทั่วไปทำการศึกษาจากข้อมูลที่ถูกต้อง ให่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับฟาร์มของตนเอง และเพิ่มพูนความรู้ใหม่ ๆ ได้อย่างถูกต้อง
ความหมายของ ฟาร์ม
ฟาร์ม หรือ ไร่นา เป็นพื้นที่ดินที่อุทิศให้กับกระบวนการกสิกรรมเป็นหลักโดยมีความมุ่งหมายหลักเพื่อผลิตอาหารและธัญพืชอื่น เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานในการผลิตอาหาร คำว่า “ฟาร์ม” ใช้กับหน่วยแยกแต่ละชนิด เช่น ไร่ผัก ไร่ผลไม้ ฟาร์มวัวนม ฟาร์มหมู ฟาร์มสัตว์ปีก ไร่เชื้อเพลิงชีวภาพและโภคภัณฑ์อื่น คำว่า “ฟาร์ม” รวมถึงฟาร์มสัตว์ (ranch), feedlot, สวนผลไม้ (orchard) ไร่ใหญ่ (plantation), ที่ดินแปลงย่อย (smallholding) และรวมบ้านไร่และสิ่งปลูกสร้างทางการเกษตรตลอดจนที่ดินด้วย ในสมัยใหม่ คำนี้ยังใช้กับปฏิบัติการอุตสาหกรรมอย่างฟาร์มกังหันลมและฟาร์มปลา ซึ่งทั้งสองสามารถอยูบนบกหรือในทะเลก็ได้
ฟาร์มไก่ไข่ หมายถึง
สถานประกอบการที่เลี้ยงไก่ไข่เพื่อการค้า จำนวนตั้งแต่ 1,000 ตัว ขึ้นไป
สายพันธุ์ไก่ไข่
ไก่ไข่ที่นิยิมเลี้ยงในไทยมี 3 สายพันธุ์ด้วยกัน คือ ไก่โรดไทย ไก่ไข่ไทยกรมปศุสัตว์ และไก่ไข่เล็กฮอร์นขาวหงอนจักร ซึ่งแต่ละสายพันธุ์มีจุดเด่นที่แตกต่างกันไป ดังนี้
1.ไก่โรดไทย (Rhode Thai)
ไก่พันธุ์แท้กึ่งเนื้อกึ่งไข่ สามารถเลี้ยงเพื่อใช้ประโยชน์ได้ทั้งเนื้อและไข่ ลักษณะประจำพันธุ์คือ มีขนสีน้ำตาลอ่อนถึงสีน้ำตาล เปลือกไข่สีน้ำตาล ให้ไข่ฟองแรกได้เมื่ออายุประมาณ 168 วัน อัตราการให้ไข่ 94% ผลผลิตประมาณ 240 ฟองต่อตัวต่อปี
2.ไก่ไข่ไทยกรมปศุสัตว์ (DLD Layer Hen)
มีลักษณะประจำพันธุ์คือ ขนสีน้ำตาลอ่อนถึงสีน้ำตาลเข้ม ขนปีกสีน้ำตาล สร้อยคอสีน้ำตาลเข้ม หงอนจักรใหญ่สีแดงสด เหนียงสีแดงใหญ่ ตุ้มหูแดงมีสีขาวปนเล็กน้อย ผิวหนังและแข้งมีสีเหลือง ปลายหางมีสีดำ เปลือกไข่สีน้ำตาลอ่อน ให้ไข่ฟองแรกเมื่ออายุ 169 วัน ผลผลิตประมาณ 290 ฟองต่อตัวต่อปี
3.ไก่ไข่เล็กฮอร์นขาวหงอนจักร (Single Comb White Leghorn)
เป็นไก่พันธุ์แท้ มีลักษณะประจำพันธุ์คือ มีขนาดเล็ก ขนสีขาว เปลือกไข่สีขาว ไข่ดก ให้ไข่เร็ว เริ่มให้ไข่ได้เมื่ออายุ 4 เดือนครึ่ง ถึง 5 เดือน ผลผลิตประมาณ 300 ฟองต่อตัวต่อปี
การจัดการฟาร์มไก่ไข่
เมื่อมีความต้องการที่จะทำฟารืมไก่ไข่แล้ว จะต้องสร้างฟาร์มขึ้นมาเพื่อรองรับไก่ไข่ที่เลี้ยงให้มีที่อยู่อาศัย โดยพื้นที่ต้องเหมาะสมกับจำนวนโรงเรือน ไม่หนาแน่นจนก่อให้เกิดปัญหาทางสิ่งแวดล้อม เช่น กลิ่นอันไม่พึงประสงค์ ทั้งนี้ ขนาดพื้นที่ที่เหมาะสมควรคำนึงถึงพื้นที่ปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่จำเป็นด้วย เพื่อดำเนินการจัดการฟาร์มได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ฟาร์มต้องมีการวางแผนที่ดี สำหรับการจัดแบ่งการก่อสร้างโรงเรือนอย่างมีระบบ สอดคล้องกับการปฏิบัติงาน จัดแบ่งพื้นที่ให้เป็นสัดส่วนและมีผังการจัดวางที่แน่ชัด เช่น บริเวณพื้นที่เลี้ยงสัตว์ ตำแหน่งที่ตั้งของโรงเรือน สถานที่รวบรวมไข่ โรงเก็บอุปกรณ์ เป็นต้น และจะต้องมีบริเวณรวบรวมและเก็บรักษาไข่ไก่อย่างเป็นสัดส่วนที่เหมาะสมกับการปฏิบัติงานตามสภาพฟาร์ม มีการดูแลสถานที่ให้สะอาดถูกสุขลักษณะ โดยใช้ภาชนะเก้บไข่ที่เหมาะสมในการรวบรวม สะดวกในการ
ปฏิบัติงานอย่างถูกสุขลักษณะแลัลดการปนเปื้อนของเชื้อโรค รวมถึงอาคารสำนักงาน ที่อยู่อาศัยต้องแยกกันเป้นสัดส่วน และอยู่ห่างบริเวณเลี้ยงสัตว์ เพื่อให้สะดวกในการปฏิบัติงานอย่างถูกสุขลักษณะ เพื่อให้สามารถป้องกันและควบคุมโรคในฟาร์มได้
วิธีการดูแลรักษาฟาร์มไก่ไข่ ตามองค์ประกอบฟาร์ม
1.สถานที่ตั้ง
การที่จะคงสภาพฟาร์มให้อยู่ได้ยาวนานจะต้องมีสถานที่ตั้งที่เหมาะสม ซึ่งสถานที่ตั้งของฟารืมจะต้องไม่เสี่ยงการปนเปื้อนของอันตรายทางกายภาพ เคมีและชีวภาพที่อาจะเป็นอันตรายต่อสุขอนามัยของไก่ไข่ เช่น ไม่ตั้งอยุ่ใกล้โรงงานอุตสาหกรรม สถานที่รวบรวมแหล่งกำจัดขยะและแหล่งรวมสัตว์ปีก ซึ่งการตั้งสถานที่ฟาร์มนั้นจะต้องมีทุ้งหญ้าลานกว้าง ติดกับธรรมชาติ และต้องมีมาตรการการป้องกันอันตรายต่อไก่ไข่อย่างเหมาะสม
2.โรงเรือน
โรงเรือนที่ถูกสร้างมาแล้วจะต้องแน่ใจว่ามีความแข็งแรง ทนทานต่อสภาพอากาศ และสร้างโรงเรือนที่ง่ายต่อการทำความสะอาด และมีการระบายอากาศที่ดี แต่ต้องระวังช่วงที่มีฝนหรือลมโกรก โดยเฉพาะใยช่วงลูกไก่อยู่ในระยะกก ควรมีผ้าม่านที่ใช้ป้องกันฝนและลมกันโกรกได้ดีมาบังไว้ วัสดุที่ใช้ในการสร้างไม่ควรมีส่วนยื่นแหลมคมซึ่งจะทำให้ไก่ไข่ในโรงเรือนได้รับอันตราย
ในโรงเรือนควรมีวัสดุรองพื้นสามารถใช้แกลบหรือขี้เลื่อยที่สะอาดไม่แห้งหรือไม่ชื้นเกินไปก้ได้ หากวัสดุรองพื้นเปียกหรือชื้นมากเกินไปจะทำให้เกิดเชื้อราได้ และไม่ควรนำวัสดุรองพื้นเก่าที่ใช้แล้วมาใช้ซ้ำ เพราะจะทำให้สุขอนามัยของไก่ในฟาร์มแย่ลงในช่วงไก่ระยะไข่ควรมีโรงเรือน และอุปกรร์ในการรองรับไข่ที่เอื้อต่อการวางไข่ และเก็บไข่ได้ง่าย ถูกสุขลักษณะ ทังหมดนี้จะทำให้โรงเรือนไก่ไข่สามารถใช้งานไปได้อีกยาวนาน
ระยะห่างระหว่างโรงเรือนจะต้องมีความเหมาะสมต่อการจัดการฟาร์ม บริเวณหน้าประตูของโรงเรือน ต้องมีระบบป้องกันเชื้อเข้า-ออก เช่น อ่างน้ำยาฆ่าเชื้อสำหรับจุ่มเท้า เปลี่ยนร้องเท้าหรือหุ้มเท้าเข้า-ออกโรงเรือน และต้องป้องกันสัตว์ปีกหรือสัตว์พาหนะนำเชื้อเข้ามาโรงเรือน โดยนำตาข่ายมาป้องกันไม่ให้สามารถเข้าโรงเรือนได้
3.น้ำ
น้ำที่ใช้เลี้ยงไก่จะต้องเป็นน้ำที่สะอาดและไม่มีสารปนเปื้อนต่าง ๆ ที่อันตรายต่อร่างกาย โดยจะต้องทำการตรวจตัวอย่างคุณภาพน้ำอย่างน้อย 1 ครั้งต่อรอบการต่ออายุใบรับรองมาตรฐานฟาร์ม หากช่วงที่มีสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงต่อคุรภาพของน้ำ ควรมีการตรวจคุณภาพน้ำบางรายการตามความเสี่ยงของการปนเปื้อนอันตรายที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพไก่ไข่ เพื่อวิเคราะห์หาสารปนเปื้อนจากวัตถหรือสิ่งที่เป็นอันตราย
การให้น้ำไก่ไข่ควรใช้ภาชนะที่เหมาะสม ปริมารเพียงพอต่อความต้องการและวางไว้ในตำแหน่งที่เหมาะสมเพื่อให้ไก่ได้รับน้ำอย่งทั่วถึง
4.อาหาร
อาหารไก่ไข่สำเร็จรูปและหัวอาหารต้องเป็นไปตามมาตรฐานกฎหมายว่าด้วยควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ เพื่อให้มั่นใจว่าได้อาหารไก่ไข่ที่มีคุณภาพและมีความปลอดภัย โดยต้องซื้อจากผู้ที่ไดรับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ.2558 ในกรณีที่ทำการผสมอาหารไก่ไข่เอง หรือนำอาหารสำเร็จรูป หัวอาหารมาผสม ห้ามใช้สารต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ และทำการตรวจสอบคุณภาพอาหารไข่ไก่ทางกายภาพเบื้องต้น เช่น สุ่มตรวจอาหารไข่ไก่ว่ามีลักษณะ สี กลิ่นผิดปกติหรือไม่ รวมถึงบรรจุภัณฑ์ว่าไม่มีการฉีกขาด ชำรุด มีสถานที่ในการจัดเก็ยอาหารไก่ไข่โดยแยกต่างหากในสภาพที่ป้องกันการเสื่อมสภาพและการปนเปื้อน
5.อุปกรณ์ในฟาร์มไก่ไข่
อุปกรณ์จะต้องมีการทำความสะอาดทุกวัน ทั้งภาชนะใส่อาหารและน้ำของไก่ไข่ ที่ต้องล้างให้สะอาด เช็ดให้แห้งก่อนเทอาหารและน้ำให้ไก่ไข่ โโยจะต้องมีการนำอุปกรรืการเลี้ยงต่าง ๆ ไปฆ่าเชื้อ เชื้อไม่ให้มีเชื้อโรคสะสมในอุปกรณ์
การดูและรักษาฟาร์มไก่ไข่นั้นจะต้องมีความพิถีพิถันคิดให้รอบคอบเพื่อไก่ไข่ที่อยู่ในฟาร์มอยู่อาศัยได้อย่างสบาย และมีความสุข รวมถึงจะทำให้ฟาร์มของคุณนั้นมีการจัดการที่ดี สะอาดสุขอนามัยที่ส่งผลดีต่อคน สัตวืและสภาพแวดล้อมดดยรอบฟาร์ม
ดูบทความอื่นที่น่าสนใจได้ที่ https://famertools.com/