แนะนำ วิธีปลูกแตงกวา อย่างมืออาชีพ เพื่อผลผลิตที่งอกงาม!!

0
606
วิธีปลูกแตงกวา

สำหรับครั้งนี้เราจะมา แนะนำ วิธีปลูกแตงกวา อย่างมืออาชีพ เพื่อผลผลิตที่งอกงาม!! เพื่อให้ทุกท่านได้เรียนรู้วิธีใหม่ในการปลูกแตงกวา ที่สามารถทำได้ง่าย ๆ และนำไปต่อยอดปรับปรุงพัฒนาให้เป็นในรูปแบบของตนเอง สร้างงาน สร้างอาชีพ ได้อย่างดี

แตงกวา คืออะไร

แตงกวา หรือ แตงร้าน เป็นไม้เลื้อยในวงศ์ Cucurbitaceae (วงศ์เดียวกันกับแตงโม ฟักทอง บวบ มะระ น้ำเต้า) มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย นิยมปลูกเพื่อใช้ผลเป็นอาหาร มีอายุตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว 40-60 วัน แตงกวาสามารถนำไปปรุงอาหารได้มากมายหลายชนิดเช่น แกงจืด ผัด กินกับน้ำพริก หรืออาจแปรรูปเป็นแตงกวาดอง

ลักษณะของแตงกวา

แตงกวามีรากแก้ว แตกแขนงเป็นจำนวนมาก รากสามารถแผ่ทางด้านกว้างและหยั่งลึกได้มากถึง 1 เมตร ลำต้นเป็นเถามีขนขึ้นมีขนขึ้นปกคลุมทั่วไป มีข้อยาว 10 ถึง 20 เซนติเมตร มีหนวดเกาะบริเวณข้อโดยส่วนปลายของหนวดไม่มีการแตกแขนง ใบมีก้านใบยาว 5 – 15 เซนติเมตร ใบหยาบมีขนใบ มีมุมใบ 3 ถึง 5 มุม ปลายใบแหลม ใบใหญ่มี เส้นใบ 5 – 7 เส้น ดอกเพศเมียเป็นดอกเดี่ยว กลีบเลี้ยงสีเขียว 5 กลีบ กลีบดอกสีเหลือง 5 กลีบ ดอกตัวผู้เป็นดอกเดี่ยว ผลแตงกวามีลักษณะเรียวยาวทรงกระบอก มีใส้ภายในผล ความยาวระหว่างผล 5- 40 เซนติเมตร

วิธีปลูกแตงกวา

สรรพคุณแตงกวา

ช่วยในการต้านอนุมูลอิสระ

ในแตงกวามีสารต้านอนุมูลอิสระที่อาจมีฤทธิ์ช่วยลดหรือกำจัดสารอนุมูลอิสระซึ่งเป็นอันตรายต่อเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย จึงมีการทดลองที่ค้นคว้าประสิทธิผลในด้านนี้ โดยให้ผู้ทดลองรับประทานสารสกัดจากแตงกวา 30 วัน ก่อนเจาะเลือดเพื่อตรวจคุณสมบัติของแตงกวาในการต้านอนุมูลอิสระ โดยในตัวอย่างเลือดที่เก็บจากผู้ทดลองอายุมากกว่า 60 ปี ซึ่งมีสุขภาพดี แม้จะค้นพบประสิทธิภาพในการต้านสารอนุมูลอิสระของแตงกวา แต่งานวิจัยดังกล่าวเป็นเพียงการทดลองโดยดูคุณสมบัติการต้านอนุมูลอิสระในห้องปฏิบัติการจากกลุ่มตัวอย่างบางกลุ่มอายุเท่านั้น ผลลัพธ์ที่ได้จึงอาจเป็นเพียงประสิทธิผลบางส่วนจากสารต้านอนุมูลอิสระที่พบได้ทั่วไปในอาหารจำพวกพืชผัก

ช่วยกระตุ้นให้เด็กรับประทานผักเพิ่มขึ้น

เนื่องจากแตงกวามีวิตามิน แร่ธาตุ และเส้นใยอาหาร ซึ่งมีความสำคัญต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ของร่างกาย และช่วยส่งเสริมให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรง โดยพ่อแม่ส่วนใหญ่มักนำแตงกวา ผสมกับผักอื่น ๆให้มีสีสันให้เด็กเล็กกิน เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เด็กเล็กหันมารับประทานผักผลไม้ได้มากขึ้น

แตงกวาช่วยในการป้องกันมะเร็ง

เนื่องจากในแตงกวามีสารพฤกษเคมีอย่างฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) คิวเคอร์บิทาซิน (Cucurbitacin) และลิกแนน (Lignan) ซึ่งเชื่อกันว่าสารเหล่านี้มีฤทธิ์ต้านการอักเสบและต้านสารอนุมูลอิสระที่อาจก่อมะเร็งได้ จึงคาดว่าแตงกวาอาจมีประสิทธิภาพต่อการป้องกันมะเร็งได้

พันธุ์แตงกวา

แตงกวาสำหรับรับประทานสด เป็นพันธุ์ที่มีเนื้อบางและไส้ใหญ่ สีเปลือกมีสีเขียวอ่อน ผลของแตงกวามีน้ำมาก ซึ่งแตงกวาสำหรับรับประทานสดนั้นมีทั้งผลเล็กและผลใหญ่ เมื่อตอนที่ผลยังอ่อนอยู่จะมีหนามเต็มผล แต่เมื่อเติบโตเต็มที่แล้วนั้นหนามจะหลุดออกไปเอง พันธุ์รับประทานสดนั้นไม่เหมาะแก่การนำไปดอง

พันธุ์แตงกวาอุตสาหกรรม เป็นพันธุ์ที่มีเนื้อหนา ไส้ เล็ก บางพันธุ์ก็ไม่มีไส้เลย พันธุ์แตงกวาอุตสาหกรรมมีเปลือกสีเขียวเข้ม เมื่อนำไปดองจะคงรูปได้ดี ไม่เหี่ยวย่น

สภาพแวดล้อที่เหมาะแก่การปลูกแตงกวา

สภาพแวดล้อที่เหมาะแก่การปลูกแตงกวาจะต้องมีอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการงอกของเมล็ดแตงกวาระหว่า 25-30 องศาเซลเซียส  สามารถเจริญเติบโตได้ดีในอุณหภูมิตอน 20-30 องศาเซลเซียส  และอุณหภูมิกลางวัน 22-28 องศาเซลเซียส แตงกวาจะหยุดชะงักการเจริญเติบโต

การเตรียมดินปลูกแตงกวา

ก่อนการปลูกแตงกวาจะต้องทำการไถพรวนดิน และตากไว้ประมาณ 7-10 วัน เพื่อทำลายวัชพืช และศัตรูพืชบางชนิดที่อยู่ในดิน จากนั้นจึงทำการไถเก็บเศษวัชพืชออกให้หมด ปรับโครงสร้างของดินให้เหมาสมแก่การเจริญเติบโต ทำการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ลงไปในดิน สำหรับการใส่ปุ๋ยเคมีรองพื้นนั้นอาจใช้สูตร 15-15-15 ในอัตรา 30-50 กิโลกรัมต่อไร่ ในบางพื้นที่จะใช้พลาสติกมาคลุมหน้าดินเพื่อรักษาความชื้นของดินไว้ และป้องกันการงอกของวัชพืช

การปลูกแตงกวา (ระยะกล้า) จะทำได้ 2 วิธี คือ

วิธีปลูกโดยหยอดเมล็ดลงในหลุมโดยตรง วิธีนี้จะสะดวกต่อการปลูกเกษตรกรนิยมใช้วิธีนี้แม้ว่าจะสิ้นเปลืองเมล็ดพันธุ์พอสมควร

วิธีปลูกแบบเพาะกล้า

  1. เตรียมดินเพาะ ใส่ลงในถาดเพาะที่เตรียมไว้
  2. หยอดเมล็ดพันธุ์ลงในถาดเพาะหลุมละ 1-2 เมล็ด
  3. ดูแลให้น้ำทุกวัน ปุ๋ย และเก็บไว้ในที่แดดอ่อนๆ และเมื่อต้นกล้ามีใบจริงประมาณ

การให้น้ำแตงกวา

หลังจากทำการปลูกเสร็จแล้วจะต้องให้น้ำทันที ระบบการให้น้ำอาจจะแตกต่างกันออกไปในบางพื้นที่ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่นั้น ๆ แต่การให้น้ำแตงกวาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือ การให้น้ำแตงกวตามร่อง เพราะจะไม่ทำให้ให้ลำต้นและชื้น ลดการลุกลามของการเกิดโรคพืช ช่วงเวลาการให้น้ำนั้นในระยะแรกควรให้น้ำ 2-3 ครั้งต่อวัน เมื่อต้นแตงกวามีการเจริญเติบโตแล้วจึงสามารถปรับการให้น้ำที่นานมากขึ้น และจะต้องให้น้ำที่ทั่วถึงกระจายในพื้นที่ที่สม่ำเสมอตลอดแปลง และจะต้องคอยสังเกตความชื้นในดินไม่ให้มากเกินไป เพราะจะทำให้รากเน่า

การให้ปุ๋ยที่เหมาะสม

การใส่ปุ๋ยแตงกวานั้นสามารถแบ่งออกได้ 3 ระยะ

1.ระยะเตรียมดิน ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1-2 ตันต่อไร่ และใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ12-24-12 อัตราประมาณ 20-30 กิดลกรัมต่อไร่

2.ใส่ปุ๋ยแตงกวาระยะเจริญเติบโต (7-21 วัน) ให้เกษตรกร ใช้ปุ๋ยที่มีตัวหน้าสูง (ไนโตรเจน) เช่น 25-7-7 หรือ 24-7-7 หรือ ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น 16-16-16 ในอัตราส่วน 20-30 กิโลกรัมต่อไร่

3.ใส่ปุ๋ยแตงกวาระยะเก็บผลผลิต (31 วันขึ้นไป)  ให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยตัวท้ายสูง (โพแทสเซียม) เพื่อสะสมแป้ง เพิ่มน้ำหนักให้กับผลแตงกวา เช่น สูตร 13-13-21 ในอัตราส่วน 20-30 กิโลกรัมต่อไร่

บทสรุป

ทั้งหมดนี้คือการ แนะนำ วิธีปลูกแตงกวา อย่างมืออาชีพ เพื่อผลผลิตที่งอกงาม!! ที่เราได้ทำมาฝากทุกคน สำหรับใครที่กำลังมองหาวิธีปลูกแตงกวาอย่างไรให้มีผลที่งอกงาม ซึ่งวิธีที่เรานำมาฝากนั้นง่ายแสนง่าย และสามารถทำได้เอง อีกทั้งเรายังได้รวมเอาสาระน่ารู้เกี่ยวกับแตงกวามาฝากอีกเพียบ หวังว่าจะได้ประโยชน์ไปได้ไม่มากก็น้อย

ดูบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจได้ที่ https://famertools.com/

 

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here