วันนี้เราได้ รวมสูตร อาหารลูกปลานิล ลดต้นทุน จากวัตถุดิบธรรมชาติ มาฝากเพื่อน ๆ ทุกคน สำหรับใครที่ต้องการศึกษาข้อมูลการทำสูตรอาหารให้ลุกปลานิล เพราะเป็นอาหารที่ช่วยลดต้นทุนค่าอาหารแล้ว ยังช่วยให้ปลานั้นมีการเจริญเติบโตที่ดี ได้รับสารอาหารที่มีประดยชน์ เนื่องจากปลานิลนั้นเป็นปลาที่กินอาหารได้ทุกชนิด ดังนั้นอาหารที่นำให้ปลานิลกินจะต้องเป้นอาหารที่เหมาะสมแก่ความต้องการของปลานิล เพระาปลาชนิดนี้ให้ผลผลิตสูง สามารถส่งออกสู่ตลาดได้ดี สร้างรายได้อย่างมั่นคง
ทำความรู้จักกับ ปลานิล
ปลานิล มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oreochromis niloticus เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาหมอสี เป็นปลาเศรษฐกิจ แพร่ขยายพันธุ์ง่าย และมีรสชาติดี ปลานิลสามารถอาศัยอยู่ได้ในน้ำจืดและน้ำกร่อย มีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ที่แม่น้ำไนล์ ทวีปแอฟริกา พบทั่วไปตามหนอง บึง และทะเลสาบในประเทศซูดาน, ยูกันดา และทะเลสาบแทนกันยีกา ปลานิลนำเข้าสู่ประเทศไทยครั้งแรกโดยสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศมกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่น ซึ่งทรงจัดส่งเข้ามาทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2508 จำนวน 50 ตัว ครั้งนั้นได้โปรดเกล้าฯ ให้ทดลองเลี้ยงปลานิลในบ่อนํ้าภายในสวนจิตรลดา เป็นหนึ่งโครงการในโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา
ผลการทดลองปรากฏว่าปลานิลที่โปรดเกล้าให้ทดลองเลี้ยงได้เจริญเติบโตและแพร่ขยายพันธุ์ได้เป็นอย่างดี ต่อมาจึงได้พระราชทานชื่อว่า ปลานิล ส่วนในสื่อมวลชนญี่ปุ่นกล่าวถึงที่มาของชื่อปลานี้ว่า นิล มาจากตัวอักษรคันจิตัวหนึ่งในพระนามอะกิฮิโตะ คือตัว 仁 ตัวอักษรนี้ในภาษาญี่ปุ่นมีวิธีอ่านสองแบบคือฮิโตะหรือนิน และพระราชทานพันธุ์ปลาดังกล่าวให้กับกรมประมงจำนวน 10,000 ตัว เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2509 เพื่อนำไปขยายพันธุ์และแจกจ่ายแก่พสกนิกร เนื่องจากปลานิลมีคุณลักษณะพิเศษหลายอย่าง เช่น กินอาหารได้ทุกชนิด เช่น ไรน้ำ, ตะไคร่น้ำ ตัวอ่อนของแมลงและสัตว์น้ำเล็ก ๆ มีขนาดลำตัวใหญ่ ความยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร แพร่ขยายพันธุ์ง่าย และมีรสชาติดี
ในปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังโปรดเกล้าฯ ให้ทดลองเลี้ยงและแพร่ขยายพันธุ์ปลานิลในบ่อสวนจิตรลดาต่อไป ในทางวิชาการเรียกสายพันธุ์ปลานิลดังกล่าวว่า ปลานิลจิตรลดา ซึ่งยังคงเป็นปลานิลสายพันธุ์แท้ที่ประเทศไทยได้รับจากพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
รูปร่างและลักษณะของปลานิล
ปลานิลนั้นมีรูปร่างลักษณะคล้ายกับปลาหมอเทศ แต่แตกตางกันตรงที่ปลานิลมีลายสีดำและจุดสีขาวสลับกันลักษณะพิเศษของปลานิลนั้น มีริมฝีปากบนและล่างเสมอกัน มีเกล็ด 4 แถวตรงบริเวณแก้ม และจะมีลายพาดขวางลำตัวประมาณ 9-10 แถบ มีนิสัยชอบอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงตามแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง และทะเลสาบ เป็นปลาที่อยู่ได้ทั้งน้ำจืดและน้ำกร่อย มีความอดทนและสามารถปรับปรุงตัวให้เข้ากับธรรมชาติได้ง่าย เหมาะสมที่จะนำมาเพาะเลี้ยงในบ่อได้เป็นอย่างดี ปลานิลสามารถมีความยาวถึง 60 ซm (24 in) และมีน้ำหนักถึง 5 kg (11 lb) ปลาเพศผู้มีขนาดใหญ่กว่าและโตเร็วกว่าเพศเมีย
ลักษณะนิสัยของปลานิล
ปลานิลมีนิสัยที่ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง ยกเว้นเวลาสืบพันธุ์ มีความอดทนและสามารถปรับต้วเข้ากับสภาพแวดล้อมได้อย่างดี และปลานิลนั้นทนต่อความเค็มได้ถึง 20 ส่วนในพัน ทนต่อค่าความเป็นกรด–ด่าง (pH) ได้ดีในช่วง 6.5–8.3 และสามารถทนต่ออุณหภูมิได้ถึง 40 องศาเซลเซียส แต่ในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส พบว่าปลานิลปรับตัวและเจริญเติบโตได้ไม่ดีนัก ทั้งนี้เป็นเพราะถิ่นกำเนิดเดิมของปลาชนิดนี้อยู่ในเขตร้อน
การให้อาหาร ลูกปลานิล
ปลานิลนั้นสามารถกินอาหารได้ทุกชนิด โดยเฉพาะพวกอาหารธรรมชาติที่มีอยู่ในบ่อเช่น ไรน้ำ ตะไตร่น้ำ ตัวอ่อนของแมลงและสัตว์เล็ก ๆ หรือแม้แต่สาหร่ายและแหนปลานิลก็สามารถกินได้ หากเป็นลุกปลานิลนั้นผู้เลี้ยงอาจจะนำอาหารที่มีขนาดเล็ก และย่อยง่ายอย่างพืชผัก หรืออาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ดเล็กที่มีขายทั่วไปมาให้แก่ลูปลานิล โดยการให้อาหารแต่ละครั้งนั้นไม่ควรให้ในปริมาณที่มากจนเกินไป ควรทำการกะหรือแบ่งให้มีปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของปลาเท่านั้น ซึ่งตามหลักแล้สปลานิลสามารถกินอาหารได้ทีละน้อย ๆ เนื่องจากปลานิลไม่มีกระเพาะอาหารจริง และมีการย่อยอาหรที่ช้าพอสมควร ดังนั้นถ้าเกิดให้อาหารเยอะมากจนเกินไปจะทำให้อาหารเน่าเสียในบ่อ เป็นอันตรายแก่ปลาได้
ช่วงเวลาในการให้อาหารปลานิลโดยส่วนใหญ่แล้วจะให้ในช่วงเช้าและเย็น เพราะในช่วงดังกล่าวเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในเรื่องของการกินอาหารในปริมาณที่มากขึ้น และอุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดจะส่งผลให้ปลากินอาหารได้มากที่สุด คืออยู่ที่ 25-30 องศาเซลเซียส ห่างสูงกว่านี้หรือต่ำกว่านี้ จะทำให้ปลากินอาหารน้อยลง
สูตร อาหารลูกปลานิล ลดต้นทุน
สูตรที่ 1
วัตถุดิบ
- ปลาป่น 10%
- กากถั่วลิสง 20%
- รำละเอียด 34%
- กากงา 35%
- ได-แคลเซียมฟอสเฟต 0.5%
- เกลือแกง 0.3%
- วิตาทินและแร่ธาตุอื่น 0.2%
วิธีทำ
- นำวัตถุดิบทั้งหมดมาบดให้ละเอียด
- หลังจากนั้นให้นำเอาวัตถุดิบทั้งหมดมาผสมกัน และทำการคลุกเคล้าให้เข้ากัน
- นำอาหารที่ได้จากการคลุกเคล้ามาอัดเม็ด โดยเติมน้ำเข้าไป 30-40%
- เมื่อได้อาหารอัดเม้ดแล้วนำไปผึ่งลมให้แห้ง สามารถเก็บไว้ใช้ได้นาน ปลากินได้
สูตรที่ 2
วัตถุดิบ
- ปลาป่น 20%
- กากถั่วเหลือง 35%
- รำละเอียด 10%
- ข้าวหรือเปลือกข้าว 34%
- เมทไธโอนิน 0.5%
- วิตามินและแร่ธาตุ 0.3%
วิธีทำ
- นำวัตถุดิบทั้งหมดที่ได้มาบดให้ละเอียด
- แหละหลังจากนั้นนำเอาวัตถุดิบทั้งหมดเทลงในภาชนะผสมกัน และทำการคลุกเคล้าให้เข้ากัน
- เมื่อคลุกเคล้าเสร้จแล้วให้นำมาอัดเป็ดเม็ด โดยทำการเติมนำเข้าไป 30-40%
- เมื่อได้อาหารเม็ดแล้วจึงนำไปผึ่งให้แห้ง นำไปให้ปลากิน สามารถเก้บไว้ใช้ได้อีกหลายเดือน
สูตรที่ 3
วัตถุดิบ
- หญ้าเนเปียร์ 1.8 กิโลกรัม
- หญ้าลูซี่ 1.8 กิโลกรัม
- หญ้ากินนี 1.8 กิโลกรัม
- หญ้าขน 1.8 กิโลกรัม
- ปลาป่น 5.5 กิโลกรัม
- ถั่วเหลือง 1.8 กิโลกรัม
- ปลายข้าว 1.8 กิโลกรัม
- รำละเอียด 6 กิโลกรัม
- น้ำมัน 3 ขีด
- กล้วยน้ำว้าสุก 1.8 กิโลกรัม
- กากมะพร้าม 5 ขีด
วิธีทำ
- นำวัตถุดิบทั้งหมดมาบดให้ละเอียด
- เอาวัตถุดิบทั้งหมดมาผสมและทำการคลุกเคล้าให้เข้ากัน
- เมื่อคลุกเคล้าเสร็จแล้วให้นำเข้าเครื่องอัดเม็ด โดยเติมน้ำ 30-40%
- เมื่อได้ออกมาเป้นอาหารเม็ดแล้วให้นำไปผึ่งให้แห้งประมาร 3 วัน นำไปให้ปลากินและเก็บไว้ใช้ได้นาน
บทสรุป
และทั้งหมดนี้คือ รวมสูตร อาหารลูกปลานิล ลดต้นทุน จากวัตถุดิบธรรมชาติ ที่เราได้รวบรวมมาให้นั้นบอกเลยว่าเป็นสูตรอาหารที่ทำได้ง่าย และสามารถหาวัตถุดิบได้ทั่วไปตามท้องถิ่น ซึ่งสูตรอาหารเหล่านี้นั้นช่วยในการลดต้นทุนค่าอาหารได้ดี อีกทั้งยังทำให้ลูกปลานิลได้สารอาหรที่มีคุณค่าทางโภชนาการและช่วยกระตุ้นให้มีการเจริญเติบโตที่สมบูรณ์ หากใครได้ศึกษาแล้วสามารถนำไปประยุกต์ทำเป็นสูตรอาหารของตัวเองก็ได้ด้วยวัตถุดิบที่มีตามท้องถิ่น เพียงเท่านี้ก็จะได้อาหารลูกปลานิลตามที่ต้องการแล้ว หากต้องการดูบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจสามารถแวะชมได้ที่ https://famertools.com/