ความรู้แน่น ๆ เลี้ยงเป็ดไข่ ฉบับเบื้องต้น สร้างรายได้ให้ครอบครัว

0
2070
เลี้ยงเป็ดไข่

วันนี้พาทุกคนมารับ ความรู้แน่น ๆ เลี้ยงเป็ดไข่ ฉบับเบื้องต้น สร้างรายได้ให้ครอบครัว  เป็ดเป็นสัตว์ปีกอีกประเภทหนึ่งที่มีการเลี้ยงดูได้ง่าย สามารถกินอาหารตามธรรมชาติได้เอง และให้ผลผลิตไข่จำนวนมากซึ่งเป็นสัตว์ที่นิยมเลี้ยงรองลงมาจากไก่ และการเลี้ยงเป็ดมีวัตถุประสงค์เพื่อบริโภคเนื้อและไข่ หากใครที่เคยเลี้ยงไก่มาก่อนก็ไม่ใช่เรื่องยากที่จะเลี้ยงเป็ด การเลี้ยงเป็ดนั้นนอกจากจะเลี้ยงเพื่อบริโภค หรือเพื่อการสร้างรายได้แล้ว ยังสามารถเลี้ยงเพื่อความสวยงสมได้อีกด้วย เราจึงได้นำเอาเกร็ดความรู้มาแบ่งปันทุกคน ไปติดตามกันได้เลย

เลี้ยงเป็ดไข่

ความหมาย เป็ดไข่

เป็ดพันธุ์ที่ให้ผลผลิตไข่เป็นหลัก  มีขนาดและน้ำหนักตัวไม่ใหญ่มากนัก 

พันธุ์เป็ดไข่ ที่นิยมเลี้ยง

1.พันธุ์กากีแคมเบลล์ (Khaki Campbell) 

เป็ดสายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ซึ่งลักษณะเด่นของพันธุ์กากีแคมเบลล์ จะมีขนลำตัวสีน้ำตาล เพศผู้มีขนที่บริเวณส่วนอกที่เข้มกว่าลำตัว และมีขนที่ปลายทางม้วนงอ เพศเมียขนสีน้ำตาลตลอดลำตัว หัวสีน้ำตาลเข้ม ปากสีดำ แข้งและเท้าสีน้ำตาล เนื่องจากเป็ดกากีแคมป์เบลล์มาจากภูมิภาคและอากาศที่แตกต่างจากประเทศไทย ตลอดจนวิธีการเลี้ยงและการจัดการที่แตกต่างกัน ประกอบกับเป็ดจะต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและการจัดการของไทย จึงทำให้มีอัตราการสูญเสียสูง ผู้เลี้ยงจึงนำไปผสมกับเป็ดปากน้ำ ผลิตเป็นเป็ดลูกผสมเพื่อหวังจะให้ลูกผสมที่มีความต้านทานต่อสภาพแวดล้อม ทนโรค เลี้ยงง่ายและไข่ดก ซึ่งผู้เลี้ยงเป็ดไข่จะพึงพอใจมากกับเป็ดลูกผสมที่ได้จนทำให้เป็ดปากน้ำพันธุ์แท้ลดจำนวนลงไปอย่างรวดเร็ว

2.พันธุ์พื้นเมือง 

เป็ดพันธุ์พื้นเมือง สามารถแบ่งออกได้ 3 สายพันธุ์ดังนี้

  • พันธุ์นครปฐม สามารถพบได้ในเขตภาคกลาง มีขนาดตัวใหญ่กว่าเป็ดกากีแคมเบลล์ แต่ผลผลิตไข่ไม่มากเท่า ให้ไข่ช้า ฟองใหญ่ เพศเมียมีสีน้ำตาลลายกาบอ้อย ตัวเมียจะเริ่มให้ไข่เมื่ออายุประมาณ 6 เดือน ส่วนเพศผู้หัวมีสีเขียวเข้ม คอควั่นเป็นวงแหวนสีขาว ปากสีเทา เท้าและแข้งสีส้ม
  • พันธุ์กบินทร์บุรี เป็ดพันธุ์นี้กรมปศุสัตว์ได้ทำการพัฒนาจากเป็ดสายพันธุ์กากีแคมเบลล์ มีขนลำตัวสีดำ เพศผู้มีขนที่หัวสีเขียวเข้ม ปาก แข้ง และเท้าสีดำ เพศเมีย ปากสีน้ำเงินจะมีขนสีกากีสีเดียวตลอดลำตัว สามารถให้ผลผลิตไข่เมื่อมีอายุ 150-160 วัน โดยให้ผลผลิตไข่ประมาณ 280-300 ฟองต่อตัวต่อปี
  • พันธุ์ปากน้ำ เป็ดไข่พื้นเมืองขนาดเล็กที่อนุรักษ์และพัฒนาพันธุ์โดยกรมปศุสัตว์ มีขนลำตัวสีดำ เพศผู้มีขนที่หัวสีเขียวเข้ม ปาก แข้ง และเท้าสีดำ เริ่มให้ผลผลิตไข่เมื่ออายุ 18-20 สัปดาห์ สามารถให้ผลผลิตไข่ประมาณ 280-300 ฟองต่อตัวต่อปี
  • พันธุ์บางปะกง เป็ดไข่ที่มีขนลำตัวสีกากี เพศผู้มีขนสีเขียวเข้มที่บริเวณหัว ปลายหาง และปลายปีก โดยมีขนปลายหางงอนขึ้นด้านบน ปากสีดำ ขาและเท้ามีส้ม ตัวเมียทั้งตัวจะมีสีน้ำตาลอ่อนตลอดตัว และเริ่มให้ไข่ที่อายุประมาณ 20 สัปดาห์ โดยให้ผลผลิตไข่เฉลี่ย 280 ฟองต่อตัวต่อปี

การคัดเลือกสายพันธุ์เป็ดสำหรับการเลี้ยง

ก่อนจะทำการเลี้ยงเป็ดจะต้องมีการคัดเลือกสายพันธุ์เป็ด เพื่อให้การเลี้ยงเป็ดไข่นั้นเป็นไปอย่างราบรื่น และเหมาะสมกับรูปแบบการเลี้ยง โดยจะต้องมีการคัดเลือกดังนี้

1.ควรทำการตัดเลือกพ่อแม่พันธุ์เป็ดที่เหมาะสมในการเลี้ยง และจะต้องมาจากฟาร์มที่มีมาตรฐาน เชื่อถือได้

  1. ควรทำการเลือกพ่อแม่พันธุ์ที่สามารถให้ผลผลิตได้ดี 

3.เลือกพ่อแม่พันธุ์ที่มีลักษณะที่ดี ไม่มีอะไรผิดเพี้ยน และจะต้องมีสุขภาพที่แข็งแรง

การจัดเตรียมโรงเรือน

การจัดเตรียมโรงเรือนสำหรับเป็ดไข่นั้นจะต้องคำนึงถึงความแข็งแรง สามารถป้องกันแดด ฝนได้อย่างดี และภายในโรงเรือนจะต้องระบายอากาศได้ดี ไม่มีสิ่งกีดขวางอากาศด้านบนของโรงเรือน พื้นควรของโรงเรือนเป็นพื้นทราย หรือพื้นซีเมนต์ จะทำให้ท้าความสะอาดได้ง่ายและไม่เปียกชื้นมาก และควรปูเปลือกข้าวหรือแกลบเป็นวัสดุรองพื้น บริเวณที่วางอุปกรณ์ให้น้ำควรมีจะการระบายน้ำที่ดี และอีกข้อสำคัญคือไม่ควรเลี้ยงเป้ดไข่จำนวนมากกว่าโรงเรือน ทำให้ประชากรเป้ดไข่แออัด และอาจทำให้ส่งผลกระทอบต่อสุขภาพของเป็ดไข่ได้ การสร้างโรงเรือนนั้นจะต้องเป้นโรงเรือนที่สามารถสร้างได้ง่าย ตามกำลังที่มี

การทำความสะอาดโรงเรือนและอุปกรณ์ต่าง ๆ  จะต้องระมัดระวังไม่ให้เป็ดตกใจ เพื่อไม่ให้เกิดการเตลิดหนีหาย และจะต้องทำความสะอาดในช่วงเวลาเดียวกันทุก ๆ วัน เพื่อให้เป็นเคยชินกับการทำความสะอาดโรงเรือน

รูปแบบโรงเรือน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

1.โรงเรือนระบบปิด เป็นโรงเรือนที่มีอากาศเข้าออกได้ง่าย สภาพแวดล้อมภายในดรงเรือนจะเปลี่ยนแปลงตามสภาพภูมิอากาศภายนอกที่มีความร้อน หนาว ตามฤดูกาล ซึ่งดรงเรือนระบบปิดนั้นอาจมีข้อเสียในเรื่องที่ทำให้เป้ดอยู่ได้ไม่ค่อยสบายมากนัก ส่งผลให้มีผลผลิตที่น้อยกว่าความต้องการ และโรงเรือนแบบเปิดนั้นจะช่วยในเรื่องการลดต้นทุนได้ดีกว่า

2.โรงเรือนระบบปิด เป็นโรงเรือนที่มีการควบคุมสภาพอากาศตามสภาพแวดล้อมภายใน  และภายในมีระบบการจัดการที่ดีกว่าโรงเรือนแบบเปิด เป็ดทีเลี้ยงในโรงเรือนแบบนี้จะมีสุขภาพที่ดีและแข็งแรงทำให้ได้ผลผลิตในปริมาณที่สูง แต่มีค่าใช้จ่ายสูง

การให้น้ำ

การให้น้ำสำหรับเป็ดไข่นั้นจะให้โดยการนำน้ำใส่ขวดพลาสติก หรือ รางน้ำ โดยจะต้องวางอยู่ใกล้กับถาดอาหารเพื่อให้เป็ดสามารถดื่มน้ำได้สะดวก น้ำที่ให้ควรเป็นน้ำที่สะอาดปลอดสารเคมีคลอรีน ขวดน้ำ หรือรางน้ำควรมีการทำความสะอาดทุกวัน วันละ 1-2 ครั้ง เพื่อให้เป็ดได้ดื่มน้ำที่สะอาดไม่มีสารตกค้างและสิ่งสกปรกเจือปน และในเวลากลางคืนจะต้องมรน้ำให้เป็ดกินตลอด เพื่อลดความกระหายน้ำของเป็ด

การให้อาหาร

การให้อาหารสำหรับเป็ดสามารถให้ตามมื้ออาหารวันละ 3 มื้อ เช้า กลางวัน เย็น แต่อาหารสำหรับเป้ดไข่นั้นจะมีทั้งอาหารสำเร็จรูป ที่สามารถให้อาหารได้อย่างสะดวก รวดเร็วทำให้รางน้ำสะอาด และยังประหยัดอาหาร เพระหกหล่นน้อย แต่จะมีราคาที่แพง ซึ่งถ้าเลือกใช้อาหารแบบสำเร็จรูปแล้วจะต้องมีการคำนวณค่าใช้จ่ายอย่างเหมาะสม ด้านอาหารผสอย่างหัวอาหารเป็ดนั้น จะมีการผสมจากวัตถุดิบอาหารสัตว?จำพวกโปรตีนจากพืช สัตว์ ไวตามินและแร่ธาตุบางชนิด ยกเว้น พวกธัญพืช หรือวัตถุดิบบางอย่าง อาหารเป็ดแบบนี้จะต้นทุนต่ำ สามารถใช้ของที่มีอยู่ไม่ว่าจะเป็นปลายช้าว รำ ทั้งหยาบและละเอียด มาผสมกันตามสัดส่วนครบถ้วนตามความต้องการของร่างกายสัตว์ ก่อนนำอาหารผสมนี้ไปเลี้ยงเป็ดต้องคลุกน้ำให้พอหมาดๆ ร่วนไม่เกาะเป็นก้อน จะช่วยให้เป็ดกินอาหารได้ดี ลดการฟุ้งกระจายและการหกหล่นได้มาก สำหรับอาหารประเภทนี้อาจมีหลายขั้นตอนแต่ก็เป็นที่นิยมเพราะด้วยเรื่องราคาที่ถูกและสามารถใช้ของในท้องถิ่นได้

บทสรุป

เป็นอย่างไรกันบ้างกับ ความรู้แน่น ๆ เลี้ยงเป็ดไข่ ฉบับเบื้องต้น สร้างรายได้ให้ครอบครัว ที่เราได้นำมาฝากนั้นเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับมือใหม่ที่อยากจะเลี้ยงเป็ด หรือคนที่อยากจะเพิ่มพูนความรู้ ตอบโจทย์เกษตรกร เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในฟาร์มของตนเองให้ได้ผลผลิตจากไข่เป็ดที่ดีมากขึ้น ช่วยให้เป็ดในฟาร์มมีสุขภาพที่ดีและมีความสุขในการใช้ชีวิต สามารถนำไปประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวได้อย่างยั่งยืน

ดูบทความที่น่าสนใจได้ที่ https://famertools.com/

 

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here