ครั้งนี้จะ พาชม โรงเรือนสุกรแบบทั่วไป ตามเกณฑ์กำหนดมาตรฐานฟาร์ม เพื่อให้การบริหารจัดการฟาร์มเป็นไปอย่างราบรื่น และยังประหยัดเวลาให้ได้มีเวลาไปทำอย่างอื่นสรา้งรายได้เพิ่ม ซึ่งโรงเรือนที่ได้มาตรฐานนั้นจะทำให้สุกรที่อาศัยอยุ่ในดรเงรือนมีสุขภาพที่แข็งแรง มีความสุขและอารมณ์ดี นอกจากโรงเรือนที่ดีแล้วอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญคืออาหารและการให้อาหารแก่สุกร ที่วันนี้เราจะนำมาฝากทุกคน หากพร้อมแล้วไปติดตามกันได้เลย
การเลี้ยงสุกรในปัจจุบัน
ปัจจุบันการเลี้ยงสุกรในไทยนั้นมีความก้าวหน้ามากกว่าแต่ก่อนเนื่องจาก มีการปรับปรุงสายพันธุ์ที่หลากหลายมากขึ้น และเทคดนโลยี นวัตกรรมต่าง ๆ ที่ผลิตออกมาเพื่อการเลี้ยงสุกรที่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังมีการพัฒนาสูตรอาหารที่นอกจากสูตรอาหารทำเองที่หลากหลายแล้วยังมีสูตรอาหารสำเร็จรูปเพื่อเร่งการเจริญเติบโตให้แก่สุกรได้อย่างดี และปลอดภัย ทั้งนี้ก็เพื่อให้สุกรสามารถส่งออกไปสู่ตลาดได้อย่างมีคุณภาพ
โครงสร้างโรงเรือน
- เสาและโครงทำจากปูน เหล็ก หรือไม้ที่มีความแข็งแรง
- หลังคามุงด้วยกระเบื้องหรือวัสดุที่คงทน และสามารถลดความร้อนได้ ในกรณีหลังคาทำด้วยสังกะสีควรเป็นแบบหน้าจั่ว 2 ชั้น
- ผนังคอก ทำจาก อิฐบล็อก หรือแป๊ปน้ำ สร้างอย่างแข็งแรง ความสูงผนังคอกประมาณ 1 เมตร และ 1.2 เมตร สำหรับสุกรพ่อพันธุ์
- พื้นคอก : เป็นคอนกรีตไม่หยาบและไม่ลื่นเกินไป มีความลาดเอียง หรือเป็นพื้นแสลต
- หน้าโรงเรือนแต่ละหลังมีบ่อน้ำยาฆ่าเชื้อสำหรับจุ่มเท้าบุคคลก่อนเข้า-ออก จากโรงเรือน
- โรงเรือนแต่ละหลังควรอยู่ห่างจากรั้วไม่น้อยกว่า 20 เมตร
ลักษณะระบบโรงเรือนของสุกร
1.โรงเรือนระบบเปิด หมายถึง โรงเรือนที่ควบคุมสภาวะแวดล้อมตามะรรมชาติ และอุณหภูมิจะแปรเปลี่ยนไปตามสภาพของอากาศรอบนอกขอโรงรือ
2.โรเงรือนระบบปิด หมายถึงโรเวรือนที่สามรถควบคุมสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับความเป้นอยู่ของสุขกรร ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้น การระบายอากาศและแสงสว่า สามารถป้องกันพาหะนำโรคได้ เช่น โรงเรือนอีแว้ป (Evaporative cooling System) เป็นต้น
โรงเรือนสุกรแบบทั่วไป
คอกสุกรนิยมสร้างคอกเป็น 2 แถว มีทางเดินอยู่ตรงกลาง มีรางอาหารออยู่ด้านหน้า ก๊อกน้ำอัตโนมัติอยู่ด้านหลังคอก ก๊อกน้ำสูงจากพื้นคอกประมาณ 50 เซนติเมตร ขนาดของคอก 4×3.5 เมตร ผนังกั้นคอกสูง 1 เมตร ขังสุกรขนาด 60-100 กิโลกรัม ได้ 8-10 ตัว ส่วนความยาวของโรงเรือนก็ขึ้น อยู่กับจำนวนของสุกรที่เลี้ยงว่าต้องการความยาวของโรงเรือนเท่าใด สุกรถ้าเลี้ยงบนพื้นคอนกรีต จะใช้พื้นที่ประมาณ 1.2-1.8 ตารางเมตร/ตัว
ชนิดของโรงเรือน
1.โรงเรือนสุกรพันธุ์
ในโรงเรือนสุกรพันจะมีการแยกคอกพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ท้องว่าง แม่พันธุ์อุ้มท้องและคอกคลอด
- คอกพ่อพันธุ์ขนาด 2*2.2 เมตร สูง 1.2 เมตร (กว่้าง*ยาว*สูง)
- คอกแม่พันธุ์ท้องว่างขนาด 0.6*2.2 เมตร สูง 1 เมตร
- คอกแม่พันธุ์อุ้มท้องขนาด 1.2*2.2 เมตร สูง 1 เมตร
- คอกคลอดขนาด 2*2.2 เมตร สูง 1 เมตร ผซองแม่คลอดขนาด 0.6*2.2 เมตร สุง 1 เมตร ที่เหลือจะเป็นพื้นที่สำหรัลลุกสุกร)
*สำหรับเกษตรกรรายย่อยคอกแม่พันธุ์ที่เหมาะสม ควรมีขนาด 1.5*2.0 เมตร สามารถใช้เป้นคอกเลี้ยงขังเดี่ยว และใช้เป้นคอกคลอดได้ ถ้าใช้ใช้เป็นคอกคลอดให้ทำซองไม้ขนาดกว้าง 60 เซนติเมตร ยาว 2.0 เมตร ให้แม่สุกรในซองคลอด ส่วนลุกสุกรสามารถปล่อยอยู่ในซองคลอดได้
2.โรงเรือนสุกรเล็กและสุกรรุ่น
- คอกสุกรเล็ก (ลูกสุกรหย่านมหรือน้ำหนักประมาณ 6-20 กิโลกรัม)
- คอกสุกรรุ่น (สุกรขนาด 20-35 กิดลกรัม) ขนาด 2*3 เมตร สูง 1 เมตร
3.โรงเรือนสุกรขุน
คอกสุกรขุนนิมยมสร้างคอกเป้น 2 แถว มีทางเดินอยู่ตรงกลาง มีรางอาหารอยุ่ด้านหน้า ก็อกน้ำอัติโนมัติอยุ่ด้านหลัง ก็อกน้ำสูงจากพื้นคอกประมาณ 50 เซนติเมตร ขนาดคอก 4*3.5 เมตร ผนังกั้นคอกสูง 1 เมตร ขังสุกรขุนขนาด 60-100 กิดลกรัม ได้ 8-10 ตัว ส่วนความยาวของดรงเรือนนั้นขึ้นอยุ่กับจำนวนของสุกรขุนที่เลี้ยงว่าต้องการความยาวของโรงเรือนเท่าใด สุกรขุนถ้าเลลี้ยงบนพื้นคอนกรีต จะใช้พื้นที่ 1.2-1.8 ตารางเมตร/ตัว
อาหารและการให้อาหาร
อาหารที่ใช้ในการเลี้ยงสุกรนั้นอาจเป้นอาหารที่สำเร็จรุปที่ผลิตจากโรงงานและนำจำหน่ายตามร้านค้าที่ขายอาหารสัตวืทั่วไป ซึ่งโรงงานที่ผลิตนั้นมีการนำเิอาโปรตีนและสารอาหาร และวัตถุดิบต่าง ๆ ที่สำคัญต่อการเจริญเติบดตของสุกรมาทำเป้นอาหารในแบบสำเร็จรุป เพื่อให้สุกรกินได้ง่าย ช่วยเกษตรกรในการประหยัดเวลาให้อาหาร สะดวกและรวดเร็ว และอาหารอีกรูปแบบนึงที่เกษตรกรนิยมกันนั่นก็คือ อาหารที่ทำเองดดยใช้วัตถุดิบจากะรรมชาตที่หาได้ตามท้องถิ่นเช่น ข้าวโพด กากถั่ว ปลาป่น ไวตามิน เป้นต้น ที่นำเอาส่วนผสมเหล่านี้มาผสมเข้าด้วยกันและนำให้สุกรกิน อาหารที่ทำเองจะช่วยในการลดต้นทุนให้แก่เกษตรกรได้ดี การให้อาหารแก่สุกรนั้นจะต้องดูช่วยวัยของสุกร และจะต้องให้อาหารในปริมารที่เหมาะสม สามารถให้ 3 มื้อาหาร เช้า กลางวัน เย็น หรือ 2 มื้ออาหารอย่าง เช้า-เย็น
อุปกรณ์ให้น้ำและอาหาร
- อุปกรณ์ให้น้ำ 1 อัน/สุกร 5-10 ตัว
- รางอาหารความยาวไม่ต่ำกว่า 25 เซนติเมตร/ตัว
- อุปกรณ์ให้อาหารแบบถังกลม หรือรางอาหารกล มีเพียงพอ เหมาะสมตามมาตรฐานของ
- อปกรณ์ชนิดนั้นๆ
การสุขาภิบาลและการป้องกันโรค
การสุขาภิบาล หมายถึง การจัดการเพื่อให้สัตว์อยู่อย่างสบาย ปลอดภัยจากเชื้อโรคต่าง ๆ การทำคอกให้สะอาด การให้อาหารที่ดี และการจัดการที่จะเป็นประโยชน์ต่อการผลิตสุกร
คอกสุกรจะต้องมีการทำความทุกวันอย่างสม่ำเสมอ ด้วยไม้กวาดแห้ง และจะต้องมีการตัดมูลสุกรออก หลังจากนั้นทำการล้างน้ำในคอกให้สะอาดทำแบบนี้อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง ในการล้างคอกจะต้องล้างด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคเดือนละครั้ง และนอกจากนนี้ในการป้องกันดรคจะต้องทำการติดต่อกรมปศุสัตวืในพื้นที่ให้มาทำการฉีดวัคซีนป้องกันโรค เพื่อสร้างภูมิต้านทานให้แก่สุกรในฟาร์ม
พาชม โรงเรือนสุกรแบบทั่วไป ตามเกณฑ์กำหนดมาตรฐานฟาร์ม เป็นเรื่องที่ไม่ยากเลยหากเกาตรกรที่เลี้ยงสุกรมีความรู้ความเข้าใจในการเลี้ยงสุกร รวมถึงการจัดเตรียมพื้นที่อยู่อาศัยในโรงเรือนให้แก่สุกรอย่างเป็นสัดส่วน เพื่อไม่ให้สุกรในโรงเรือนแออัด สามารถอยู่ในโรงเรือนได้อย่างสบาย
ดูบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจได้ที่ https://famertools.com/