ลักษณะ โรงเรือนสุกร แบบทั่วไป มีแบบใดบ้าง สร้างตามได้ง่าย การเลี้ยงสุกรให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ตามวัยนั้นนอกจากอาหารที่แล้ว อีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญคือการสร้างโรงเรือนให้สุกรได้พักอาศัยอย่างถูกต้อง ถูกสุขอนามัย สามารถจุสุกรได้ตามจำนวนที่เลี้ยง และยังต้องมีดครงสร้างที่แข็งแรง สามารถกันแดด กันลม ปกป้องภัยอันตรายจากด้านนอให้แก่สุกรได้ ดังงนั้นเราจะพาทุกคนไปดูลักษณะของโรงเรือนสุกรทั่วไปว่ามีลักษณะอย่างไร หากพร้อมแล้วไปติดตามกันได้เลย
โรงเรือนสุกร คืออะไร
ที่อยู่อาศัยหรือที่พักพิงสำหรับสุกร ในรูปแบบคล้ายบ้าน โดยใช้วัสดุโครงสร้างจากไม้หรือเหล็กที่มีความแข็งแรง โดยภายในโรงเรือนจะต้องสามารถระบายอากาศได้ดีไม่อึดอัด โดยโรงเรือนของสุกรนั้นจะช่วยป้องกันแสงแดดที่แรงเกินไป และป้องกันฝน รวมถึงสภาพอากาศต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น โดยโรงเรือนนั้นสร้างขึ้นเพื่อให้เป้นที่พักอาศัย ให้สุกรได้มีพื้นที่ส่วนตัว และยังสามารถป้องกันอันตรายจากภายนอกให้แก่สุกรได้
โรงเรือนสุกร
การมีโรงเรือนที่ดีนั้นจะทำให้ฟาร์มของคุณสามารถบริหารจัดการได้ง่ายมากขึ้น และสุกรที่อยู่ในคอกนั้นสามารถอยุ่อาศัยได้อย่างสบาย แต่อย่างไรนั้นรูปแบบการสร้างโรงเรือนของแต่ละคนก้ไม่เหมือนกัน อยู่ที่กำลังในทุนทรัพย์ โดยต้องคำนึงถึงความคุ้มค่าที่ลงทุนและงบประมาณต้นทุนที่มี เราจึงได้นำเอาลักษณะของโรงเรือนมาให้ได้ชมกันถึง 5 รูปแบบ ดังนี้
1.แบบเพิงหมาแหงน
โรงเรือนแบบนี้สร้างง่าย ราคาก่อสร้างถูก แต่มีข้อเสีย คือ แสงแดดจะส่องมากเกินไปในฤดูร้อน ทำใหอุณหภูมิภายในโรงเรือนสูง ในฤดูฝนน้ำฝนจะสาดเข้าไปในโรงเรือนได้ง่าย ทำให้ภายในโรงเรือนชื้นแฉะ ข้อเสียอีกอย่างหนึ่ง หากมุงหลังคาด้วยหญ้าคา แฝก และจาก จะต้องให้มี ความลาดเอียงของหลังคาในระดับลาดชันสูง เพื่อให้น้ำฝนไหลลงจากหัวคอกไปท้ายคอกได้สะดวก มิฉะนั้นจะทำให้ฝนรั่วลงในตัวโรงเรือน
2.แบบเพิงหมาแหงนกลาย
จะเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นกว่าแบบเพิงหมาแหงน แต่มีข้อดีสามารถใช้บังแสงแดด ป้องกันฝนสาดได้ดีขึ้น
3.แบบหน้าจั่ว
ราคาก่อสร้างจะสูงกว่าสองแบบแรก แต่ดีกว่ามาก ในแง่การป้องกันแสงแดดและฝนสาด โรงเรือนแบบนี้ถ้าสร้างสูงจะดีเนื่องจาก อากาศภายในโรงเรือนจะเย็นสบาย แต่ถ้าสร้างต่ำหรือเตี้ยเกินไปจะทำให้อากาศภายในโดยฌฉพาะตอนบ่ายร้อนอบอ้าว อากาศร้อนจะไม่ช่องระบายออก ด้านบนหลังคา
4.แบบจั่วสองชั้น
เป็นแบบที่นิยมสร้างกันทั่วไป มีความปลอดภัยจากแสงแดดและฝนมาก อากาศภายในโรงเรือนมีการระบายถ่ายเทได้ดี แต่ราคาค่า ก่อสร้างจะสูงกว่าสามแบบแรก แต่ก็นับว่าคุ้มค่า ข้อแนะนำก็คือ ตรงจั่วบนสุด ควรให้ปีกหลังคาบนยื่นยาวลงมาพอสมควร ทั้งนี้เพื่อป้องกันฝนสาดเข้า ในช่องจั่ว ในกรณีที่ฝนตกแรง ทำให้คอกภายในชื้นแฉะ โดยเฉพาะลูกสุกรจะเจ็บป่วย เนื่องจากฝนสาดและทำให้อากาศภายในดรงเรือนมีความชื้นสูง
5.แบบจั่วสองชั้นกลาย
มีคุณสมบัติคล้าย ๆ กับแบบจั่วสองชั้น หลังคาโรงเรือนแบบนี้ เพื่อต้องการขยายเนื้อที่ในโรงเรือนให้กว้างใหญ่ขึ้น และจะดี ในแง่ป้องกันฝนสาดเข้าในช่องจั่วของโรงเรือน
ชนิดของโรงเรือน
1.โรงเรือนสุกรพันธุ์
ในโรงเรือนสุกรพันจะมีการแยกคอกพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ท้องว่าง แม่พันธุ์อุ้มท้องและคอกคลอด
- คอกพ่อพันธุ์ขนาด 2*2.2 เมตร สูง 1.2 เมตร (กว่้าง*ยาว*สูง)
- คอกแม่พันธุ์ท้องว่างขนาด 0.6*2.2 เมตร สูง 1 เมตร
- คอกแม่พันธุ์อุ้มท้องขนาด 1.2*2.2 เมตร สูง 1 เมตร
- คอกคลอดขนาด 2*2.2 เมตร สูง 1 เมตร ผซองแม่คลอดขนาด 0.6*2.2 เมตร สุง 1 เมตร ที่เหลือจะเป็นพื้นที่สำหรัลลุกสุกร)
*สำหรับเกษตรกรรายย่อยคอกแม่พันธุ์ที่เหมาะสม ควรมีขนาด 1.5*2.0 เมตร สามารถใช้เป้นคอกเลี้ยงขังเดี่ยว และใช้เป้นคอกคลอดได้ ถ้าใช้ใช้เป็นคอกคลอดให้ทำซองไม้ขนาดกว้าง 60 เซนติเมตร ยาว 2.0 เมตร ให้แม่สุกรในซองคลอด ส่วนลุกสุกรสามารถปล่อยอยู่ในซองคลอดได้
2.โรงเรือนสุกรเล็กและสุกรรุ่น
- คอกสุกรเล็ก (ลูกสุกรหย่านมหรือน้ำหนักประมาณ 6-20 กิโลกรัม)
- คอกสุกรรุ่น (สุกรขนาด 20-35 กิดลกรัม) ขนาด 2*3 เมตร สูง 1 เมตร
3.โรงเรือนสุกรขุน
คอกสุกรขุนนิมยมสร้างคอกเป้น 2 แถว มีทางเดินอยู่ตรงกลาง มีรางอาหารอยุ่ด้านหน้า ก็อกน้ำอัติโนมัติอยุ่ด้านหลัง ก็อกน้ำสูงจากพื้นคอกประมาณ 50 เซนติเมตร ขนาดคอก 4*3.5 เมตร ผนังกั้นคอกสูง 1 เมตร ขังสุกรขุนขนาด 60-100 กิดลกรัม ได้ 8-10 ตัว ส่วนความยาวของดรงเรือนนั้นขึ้นอยุ่กับจำนวนของสุกรขุนที่เลี้ยงว่าต้องการความยาวของโรงเรือนเท่าใด สุกรขุนถ้าเลลี้ยงบนพื้นคอนกรีต จะใช้พื้นที่ 1.2-1.8 ตารางเมตร/ตัว
วิธีการป้องกันกำจัดกลิ่น และของเสียจากฟาร์มสุกร
ในปัจจุบันมีปัญหาในเรื่องของกลิ่นมูลสุกรที่ไปรบกวนชาวบ้านพื้นที่ใกล้เคียง รวมถึงน้ำเสียที่ได้ระบายอกกจากฟาร์มสู่แม่น้ำ สิ่งเหล่านี้ทำให้ฟาร์มสุกรจะต้องมีวิธีการจัดการอย่างดีเพื่อไม่ให้กระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยรอบ ซึ่งข้อเสนอแนะในการจัดการมีดังนี้
1.บ่อไบดอแก๊ส หากฟารืมสุกรที่มีขนาดใหญ่เลี้ยงสุกรถุงหนึ่งพันตัวขึ้นไปควรสร้างบ่อไบโอแก๊สขึ้นมา เพื่อเก้บมูลสุกร และนำพลังงานจากบ่อไบโอแก๊สที่อยู่ในรุปของแก๊สที่เปลี่ยนเป้นพลังงานไฟฟ้า ไปใช้ให้เกิดประโยนช์ในการทำงานในฟาร์มสุกร หรือสามารถนำแก๊สที่ได้ไปใช้ในการประกอบอาหารและกกลูกสุกร เป็นต้น
2.บ่อบำบัดน้ำเสีย การทำฟาร์มไม่ว่าจะฟาร์มอะไรก็แล้วแต่ควรมีบ่อบำบัดน้ำเสียโโยเฉพาะฟาร์มสุกรที่เลี้ยงสุกรใกล้กับแม่น้ำ โดยบ่อบำบัดน้ำเสียประกอบไปด้วยบ่อตกตะกอน บ่อหมักและบ่อผึ่ง น้ำล้างคอกสุกรที่ผ่านการบำบัดแล้วจะลดความสกปรกลงและลดกลิ่นเน่าเหม็นของมูลสุกรได้
3.บ่อเกรอะ ในฟารืมสุกรของเกษตรกรรายย่อยที่ไม่สามารถสร้างบ่อไบดอแกีสหรือบ่อบำบัดน้ำเสีย ควรสร้างบ่อเกรอะไว้เก้บมุลสุกร ขนาดของบ่อเกรอะจะขึ้นอยู่กับจำนวนสุกรที่เลี้ยง ลักษณะของบ่อเกรอะก้เหมือนกับส้วมซึมที่ใช้ตามบ้านคนทั่วไป ซึ่งประกอบไปด้วย 2 บ่อ บ่อแรกจะเป้นบ่อตกตะกอนโดยของแข็งจะตกตะกอนที่บ่อแรก ส่วนบ่อที่สองจะเป็นของเหลวที่ไหลมาจากบ่อแรก และซึมลงไปในดินหรือต่อท่อระบายสูข้างนอกต่อไป ของเหลวที่ระบายออกข้างนอกก้จะได้รับการบำบัดบ้างแล้ว
4.การใช้สารจุลินทรีย์ เช่น สารอี.เอ็ม ราดหรือพ่นตามดรงเรือนสุกร ตามกองมุลสุกร หรือราดตามบ่อน้ำเสียที่รองรับมุลสุกร โดยสารอี.เอ้มจะช่วยลดกลิ่นในฟาร์มสุกรได้
แหล่งข้อมูลอ้างอิง: กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษาตรและสหกรณ์, การเลี้ยงสุกร หน้าที่ 22-29,ค้นวันที่ 14 กันยายน 2565 จาก http://phonsawan.nakhonphanom.doae.go.th/pigpig2.pdf
และนี่ก็คือ ลักษณะ โรงเรือนสุกร แบบทั่วไป มีแบบใดบ้าง สร้างตามได้ง่าย ที่เราได้นำมาฝากถึง 5 รูปแบบด้วยกัน และยังมีลักษณะที่ต่างกันแต่ก้มีขึ้นมาเพื่อให้สุกรอยุ่อาศัยช่วยป้องกันแสงแดน กันฝน และปกป้องภัยอันตรายจากภายนอกได้ นอกจากนี้เรายังได้นำเอาสาระน่ารู้ต่าง ๆ อย่างชนิดของดรงเรือนสำหรับสุกรแต่ละรุ่น และการกำจัดกลิ่น ของเสียจากฟารืมสุกรที่เกษตรกรที่เลี้ยงสุกรจะเจอปัญหานี้บ่อยมาก หากใครได้อ่านและทำความเข้าใจจะสามารถนำไปประยุกตืใช้กับฟาร์มตนเองได้อย่างแน่นอน
ดูบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ https://famertools.com/