รูปแบบ โรงเรือน สุกร แบบทั่วไป และการจัดการฟาร์ที่ดี

0
1768
โรงเรือน สุกร แบบทั่วไป

สำหรับวันนี้จะพาไปดู รูปแบบ โรงเรือน สุกร แบบทั่วไป และการจัดการฟาร์ที่ดี เพื่อชาวเกษตรกรทุกคนที่กำลังต้องการสร้างโรงเรือนที่ดีให้แก่สุกร ซึ่งโรงเรือนที่เรานำมานั้นมีหลากลหายรุปแบบให้ได้เลือกตามวัตถุประสงคืการเลี้ยงสุกร และครั้งนี้เราได้นำเอาการจัดการฟาร์มที่ดีมาให้ทุกคนได้ศึกษาอีกด้วย จะเป้นอย่างไรนั้นไปติดตามกันได้เลย

โรงเรือนสุกรที่ดี

โรงเรือนสุกรที่ดีนั้นจะต้องสามรถป้องกันอันตรายจากภายนอกได้ และปกป้องแสงแดด กันน้ำ กันลมได้ดี โดยภาสยในโรงเรือนสุกรจะต้องมีระบบระยายอากาศที่ดี ไม่อับชื้น เพื่อให้สุกรได้หายใจอย่างสะดวก และควรเป็นโรงเรือนที่สามารถรักษาความสะอาดได้ง่าย ทำความสะอาดได้อย่างรวดเร็ว ไม่เป้นที่น้ำขัง อีกสิ่งสำคัญคือสามารถสร้างได้ง่ายโดยใช้วัสดุจากท้องถิ่นที่หาได้ ราคาถูก มีความแข็งแรงทนทาน มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน

ลักษณะระบบโรงเรือนของสุกร

1.โรงเรือนระบบเปิด  หมายถึง โรงเรือนที่ควบคุมสภาวะแวดล้อมตามะรรมชาติ และอุณหภูมิจะแปรเปลี่ยนไปตามสภาพของอากาศรอบนอกขอโรงรือ

2.โรเงรือนระบบปิด หมายถึงโรเวรือนที่สามรถควบคุมสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับความเป้นอยู่ของสุขกรร ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้น การระบายอากาศและแสงสว่า สามารถป้องกันพาหะนำโรคได้ เช่น โรงเรือนอีแว้ป (Evaporative cooling System) เป็นต้น

โรงเรือน สุกร แบบทั่วไป

รูปแบบโรงเรือนสุกร

ก่อนจะทำการสร้างโรงเรือนนัน้จะต้องมีการเลือกแบบ และทำความเข้าใจกา่อนว่ารูปแบบขอดรงเรือนสุกรนั้นมีแบบใดบ้าง แต่แต่ละแบบเหมาะสมกับการเลี้ยงสุกรตามวัตถุประสงคืที่ได้ตั้งไว้หรือไม่ ซึ่งรูปแบบโรงเรือนสุกร มี 5 รูปแบบดังนี้

  • แบบเพิงหมาแหงน โรงเรือนแบบนี้สร้างง่าย ราคาก่อสร้างถูก แต่มีข้อเสีย คือ แสงแดดจะส่องมากเกินไปในฤดูร้อน ทำใหอุณหภูมิภายในโรงเรือนสูง ในฤดูฝนน้ำฝนจะสาดเข้าไปในโรงเรือนได้ง่าย ทำให้ภายในโรงเรือนชื้นแฉะ ข้อเสียอีกอย่างหนึ่ง หากมุงหลังคาด้วยหญ้าคา แฝก และจาก จะต้องให้มี ความลาดเอียงของหลังคาในระดับลาดชันสูง เพื่อให้น้ำฝนไหลลงจากหัวคอกไปท้ายคอกได้สะดวก มิฉะนั้นจะทำให้ฝนรั่วลงในตัวโรงเรือน
  • แบบเพิงหมาแหงนกลาย จะเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นกว่าแบบเพิงหมาแหงน แต่มีข้อดีสามารถใช้บังแสงแดด ป้องกันฝนสาดได้ดีขึ้น
  • แบบหน้าจั่ว ราคาก่อสร้างจะสูงกว่าสองแบบแรก แต่ดีกว่ามาก ในแง่การป้องกันแสงแดดและฝนสาด โรงเรือนแบบนี้ถ้าสร้างสูงจะดีเนื่องจาก อากาศภายในโรงเรือนจะเย็นสบาย แต่ถ้าสร้างต่ำหรือเตี้ยเกินไปจะทำให้อากาศภายในโดยฌฉพาะตอนบ่ายร้อนอบอ้าว อากาศร้อนจะไม่ช่องระบายออก ด้านบนหลังคา
  • แบบจั่วสองชั้น เป็นแบบที่นิยมสร้างกันทั่วไป มีความปลอดภัยจากแสงแดดและฝนมาก อากาศภายในโรงเรือนมีการระบายถ่ายเทได้ดี แต่ราคาค่า ก่อสร้างจะสูงกว่าสามแบบแรก แต่ก็นับว่าคุ้มค่า ข้อแนะนำก็คือ ตรงจั่วบนสุด ควรให้ปีกหลังคาบนยื่นยาวลงมาพอสมควร ทั้งนี้เพื่อป้องกันฝนสาดเข้า ในช่องจั่ว ในกรณีที่ฝนตกแรง ทำให้คอกภายในชื้น
  • แบบจั่วสองชั้นกลาย มีคุณสมบัติคล้าย ๆ กับแบบจั่วสองชั้น หลังคาโรงเรือนแบบนี้ เพื่อต้องการขยายเนื้อที่ในโรงเรือนให้กว้างใหญ่ขึ้น และจะดี ในแง่ป้องกันฝนสาดเข้าในช่องจั่วของโรงเรือน

ขนาดของโรงเรือน

ขนาดของโรงเรือนเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยให้สุกรอยู่ได้อย่างสบายมากขึ้น เพราะถ้าหากโรงเรือนมีขนาดที่เล้กกว่าจำนวนของสุกรที่เลี้ยงนั้นจะทำให้ภายในดรงเรือนแออัด ถ้าดรงเรือนที่มีขนาดที่ใหญ่เกินไปก็จะทำให้ภายในดูโหรงเหรงและสิ้นเปลืองทรัพยาโดยฝช่เหตุ ดังนั้นการสร้างดรงเรือนจะต้องดูจำนวนของสุกรที่เลี้ยงในฟาร์มและสร้างออกมาในขนาดที่เหมาะสมไม่เล็กไม่ใหญ่จนเกินไป เพื่อการเป็นอยู่ที่ดีของสุกร

โรงเรือน สุกร แบบทั่วไป

การจัดการฟาร์ม

 1.การจัดการโรงเรือน

ในการจัดการโรงเรือนนั้น โรงเรือนสุกรและที่ให้อาหาร ต้องสะอาดและแห้งสะดวกในการปฏิบัติงาน มีดูแลซ่อมแซมโรงเรือนให้มีความปลอดภัยต่อสุกรและผู้ปฏิบัติงาน และการทำความสะอาดโรงเรือนและอุปกรณ์ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อตามความเหมาะสม

2.การจัดการด้านบุคลากร

ด้านบุคลากรต้องมีจำนวนแรงงานอย่างเพียงพอและเหมาะสมกับจำนวนสัตว์เลี้ยง มีการจัดแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบของบุคลากรในแต่ละตำแหน่งอย่างชัดเจน บุคลากรภายในฟาร์มควรได้รับการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี และจัดการให้มีสัตวแพทย์ ควบคุมกำกับดูแลด้านสุขภาพสัตว์ภายในฟาร์มโดยสัตวแพทย์ ต้องมีใบอนุญาตประกอบบำบัดโรคสัตว์ชั้นหนึ่ง และได้รับอนุญาตควบคุมฟาร์มจากกรมปศุสัตว์

3.คู่มือการจัดการฟาร์ม

ผู้ประกอบการฟาร์มต้องมีคู่มือการจัดการฟาร์ม แสดงให้เห็นระบบการเลี้ยงการจัดการฟาร์มระบบบันทึกข้อมูลการป้องกันและควบคุมโรคสัตว์ การดูแลสุขภาพสัตว์และสุขอนามัยในฟาร์ม

4.การจัดการด้านอาหารสัตว์

จะต้องคำนึงถึงคุณภาพอาหารสัตว์โดยอิงจาก

แหล่งที่มาของอาหารสัตว์

ก.ในกรณีซื้ออาหารสัตว์ ต้องซื้อจากผู้ขายที่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ.2525

ข.ในกรณีผสมอาหารสัตว์เองต้องมีคุณภาพอาหารสัตว์เป็นไปตามกำหนดตามกฎหมายตาม พ.ร.บ. ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ.2525

ภาชนะบรรจุและการขนส่ง

ภาชนะบรรจุอาหารสัตว์ควรสะอาด ไม่เคยใช้บรรจุวัตถุมีพิษ ปุ๋ยหรือวัตถุอื่นๆ ใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสัตว์ สะอาด แห้ง กันความชื้นได้ ไม่มีสารที่จะปนเปื้อนกับอาหารสัตว์ ถ้าถูกเคลือบด้วยสารอื่นสารดังกล่าวต้องไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์

-การตรวจสอบคุณภาพอาหารสัตว์

ควรมีการตรวจสอบอาหารสัตว์อย่างง่าย นอกจากนี้ต้องสุ่มตัวอย่างอาหารสัตว์ส่งห้องปฏิบัติการที่เชื่อถือได้ เพื่อวิเคราะห์คุณภาพและสารตกค้างเป็นประจำและเก็บบันทึกผลการตรวจวิเคราะห์ไว้ให้ตรวจสอบได้

5.การจัดการด้านสุขภาพสัตว์

ฟาร์มจะต้องมีระบบเฝ้าระวังควบคุม และป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้รวมถึงการมีโปรแกรมทำลายเชื้อโรคก่อนเข้าและออกจากฟาร์ม การป้องกันการสะสมของเชื้อโรคในฟาร์ม การควบคุมโรคให้สงบโดยเร็วและไม่ให้แพร่ระบาดอาหารสัตว์

 การบำบัดโรค

  1. การบำบัดโรคสัตว์ ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ควบคุมการประกอบการบำบัดโรคสัตว์ พ.ศ. 2505
  2. การใช้ยาสำหรับสัตว์ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดการใช้ยาสำหรับสัตว์ (มอก.7001-2540)

6.การจัดการสิ่งแวดล้อม

ฟาร์มจะต้องจัดให้มีระบบกำจัดหรือบำบัดของเสียที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อผู้อยู่อาศัย ข้างเคียง หรือสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย

1.ขยะมูลฝอย ทำการเก็บรวบรวมขยะมูลฝอยในถังที่มีฝาปิดมิดชิด และนำไปกำจัดทิ้งในบริเวณที่ทิ้งของเทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น

2.ซากสุกร ฟาร์มจะต้องมีการจัดการกับซากสุกรให้ถูกสุขลักษณะอนามัย

3.มูลสุกร นำไปทำปุ๋ย หรือหมักเป็นปุ๋ยโดยไม่ทิ้งหรือกองเก็บในลักษณะที่จะทำให้เกิดกลิ่นหรือก่อความรำคาญต่อผู้อยู่อาศัยข้างเคียง

4.น้ำเสีย ฟาร์มจะต้องมีระบบเก็บกัก หรือบำบัดน้ำเสียให้เหมาะสมทั้งนี้น้ำทิ้งจะต้องมีคุณภาพน้ำที่เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งที่กำหนด

การมี รูปแบบ โรงเรือน สุกร แบบทั่วไป และการจัดการฟาร์ที่ดี จะช่วยให้การเป้นอยู่ของสุกรในฟาร์มสบาย และมีอารมณ์ที่ดี ทำให้สุกรมีการเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ และสามารถส่งออกไปสู่ตลาดได้อย่างมีคุณภาพ ดังนั้นการสร้างโรงเรือนสุกรจะต้องมีการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจให้แน่ชัด และลงมือทำอย่างตั้งใจ ให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี และครั้งนี้ที่เรานำเอาการจัดการฟาร์มาฝากทุกท่านนั้นก็เพื่อให้เกษตรกรทุกคนได้รู้วิธีการจัดการฟาร์มที่ดี สามารถนำประยุกต์ใช้ในฟาร์มของตนเองให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด เพื่อการประกอบอาชีพที่สร้างรายได้อย่างยั่งยืน

 

ดูบทความอื่นที่น่าสนใจได้ที่ https://famertools.com/

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here