การสร้าง โรงเรือน สุกร แบบทั่วไป เพื่อความสะดวกในการจัดการฟาร์ม

0
2796
โรงเรือน สุกร แบบทั่วไป

การสร้าง โรงเรือน สุกร แบบทั่วไป เพื่อความสะดวกในการจัดการฟาร์ม โดยการสร้างโรงเรือนสุกรนั้นมีขั้นตอนไม่มาก เพียงแค่ต้องทำการศึกษาและทำความเข้าใจให้มากพอก่อนลงมือทำ และจะต้องมีการจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการสร้างให้พร้อม เพื่อไม่ให้เสียเวลา และมีเวลาในการไปจัดการส่วนอื่นในฟาร์มต่อได้ วันนี้เราจึงได้นำเอาวิธีการสร้างดรงเรือนสุกรแบบที่ทั่วไปมาให้ทุกคนได้ติดตาม พร้อมแล้วไปรับชมกันเลย

ทำความรู้จักกับ สุกร

หมู หรือ สุกร มีชื่อว่าวิทยาศาสตร์: Sus scrofa domesticus เป็นสัตว์เลี้ยงขนาดใหญ่ ซึ่งมีบรรพบุรุษ คือ หมูป่า (Sus scrofa) สามารถจำแนกเป็นสปีชีส์ย่อยของหมูป่าหรือเป็นอีกสปีชีส์หนึ่งแยกต่างหาก หัวและความยาวลำตัวอยู่ระหว่าง 0.9 ถึง 1.8 เมตร ตัวโตเต็มวัยหนักระหว่าง 50 ถึง 350 กิโลกรัม สุกรแม้จะเป็นสัตว์กีบคู่ซึ่งมักกินพืชเป็นอาหาร แต่กินได้ทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหารเหมือนกับบรรพบุรุษหมูป่า สุกรมีวิวัฒนาการกระเพาะอาหารใหญ่ขึ้นและลำไส้ยาวขึ้นเพราะพืชย่อยได้ยากกว่าเนื้อ

โรงเรือน สุกร แบบทั่วไป

ข้อพิจารณาในการสร้างโรงเรือน

เนื่องจากดรงเรือนสำหรับสัตว์แต่ละชนิดนั้นมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง การสร้างดรงเรือนจึงมีข้อพิจารราตามปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

1.ชนิดและอายุของสัตว์ โดยสัตว์และละชนิดมีอายุและอุปนิสัย ความต้องการในการเลี้ยงดุที่แตกต่างกันการสร้างโรงเรือนจะต้องสร้างให้เหมาะสมตามชนิดของสัตวืที่เลี้ยงในฟาร์ม

2.สภาพภูมิอากาศในแต่ละพื้นที่ แน่นอนว่าแต่ละพื้นที่นั้นมีสภาพอากาศที่แตกต่างกัน การสร้างโรงเรือนจึงต้องสร้างให้เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศ เพื่อให้สัตว์สามารถอยู่ได้อย่างสบาย มีสุขภาพแข็งแรง

3.วัสดุที่ใช้ในการสร้างดรงเรือนนั้นจะขึ้นอยู่กับทุนและวัสดุที่มีตามท้องนั้น ๆ 

4.วัตถุประสงค์ของการเลี้ยง การสร้างโรงเรือนจะต้องสร้างให้เหมาะสมตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เช่น เลี้ยงแบบขัง เลี้ยงแบบปล่อย เลี้ยงแบบรวม เป้นต้น

5.ปริมาณสัตว์ที่เลี้ยง แน่นอนว่าการสร้างโรงเรือนจะต้องมีการคำนึงถึงจำนวนสัตว์ที่เลี้ยงในฟารืมว่ามีจำนวนมกาน้อยเพียงใด เพื่อไม่ให้สัตว์ไปแออัดกันในโรงเรือน และสามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่ในโรงเรือนได้อย่างเต็มที่

6.สภาพพื้นที่ ในการสร้างดรงเรือนนั้นจะต้องสภาพของพื้นที่นั้น ๆ เป็นหลัก เนื่องจากสภาพพื้นที่นั้นมีความแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป้นที่สุงหรือที่ราบ หรือที่ดอน เช่น โรงเรือนที่อยู่ในสภาพพื้นที่สูงควรสร้างขนาดเตี้ย กระทัดรัด ถ้าเป็นพื้นที่ต่ำควรสร้างโรงเรือนยกพื้น เป็นต้น

ลักษณะทั่วไปของโรงเรือนที่ดี

1.สามารถป้องกันแดด กันฝน กันลมและศัตรูอันตรายต่าง ๆ จากภายนอกได้

2.ภายในโรงเรือยสามารถระบายอากาศได้ดี ไม่แออัด

3.โรงเรือนที่สร้างสามารถทำความสะอาดได้ง่าย

4.สะดวกและประหยัดเวลาในการทำงาน 

5.สามารถระบายของเสียได้ดี 

6.โรงเรือนที่สรา้งจะต้อง มีการสร้างที่ง่าย และราคาถูก ใช้วัสดุก่อสร้างที่มีในท้องถิ่น และมีความแข็งแรงทนทาน

7.มีการจัดสรรพื้นที่ในโรงเรือนอย่างเหมาะสม เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

6.โรงเรือนที่สร้างจะต้อง มีการสร้างที่ง่าย และราคาถูก ใช้วัสดุก่อสร้างที่มีในท้องถิ่น และมีความแข็งแรงทนทาน

7.มีการจัดสรรพื้นที่ในโรงเรือนอย่างเหมาะสม เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การสร้างโรเงรือนสุกร

โรงเรือนที่ดีจะสะดวกในการจัดการฟาร์ม สุกรจะอยู่ภายในคอกอย่างสบาย ขั้นตอนในการสร้างโรงเรือนสุกรมีดังนี้

1.สถานที่ก่อสร้างโรงเรือนสุกร ควรเป็นที่ตอนน้ำไม่ท่วม มีที่ระบายน้ำได้ดี ห่างไกลจากชุมนุมชน ตลาด และผู้เลี้ยงสุกรรายอื่น

2.สร้างโรงเรือนสุกรตามแนวตะวันออก-ตะวันตก และระยะห่างของแต่ละโรงเรือน ประมาณ 20-25 เมตร เพื่อแยกโรงเรือนออกจากกันเป็นสัดส่วน

3.ลักษณะของหลังคาโรงเรือนสุกรม 5 แบบ

  • แบบเพิงหมาแหงน โรงเรือนแบบนี้สร้างง่าย ราคาก่อสร้างถูก แต่มีข้อเสีย คือ แสงแดดจะส่องมากเกินไปในฤดูร้อน ทำใหอุณหภูมิภายในโรงเรือนสูง ในฤดูฝนน้ำฝนจะสาดเข้าไปในโรงเรือนได้ง่าย ทำให้ภายในโรงเรือนชื้นแฉะ ข้อเสียอีกอย่างหนึ่ง หากมุงหลังคาด้วยหญ้าคา แฝก และจาก จะต้องให้มี ความลาดเอียงของหลังคาในระดับลาดชันสูง เพื่อให้น้ำฝนไหลลงจากหัวคอกไปท้ายคอกได้สะดวก มิฉะนั้นจะทำให้ฝนรั่วลงในตัวโรงเรือน
  • แบบเพิงหมาแหงนกลาย จะเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นกว่าแบบเพิงหมาแหงน แต่มีข้อดีสามารถใช้บังแสงแดด ป้องกันฝนสาดได้ดีขึ้น
  • แบบหน้าจั่ว ราคาก่อสร้างจะสูงกว่าสองแบบแรก แต่ดีกว่ามาก ในแง่การป้องกันแสงแดดและฝนสาด โรงเรือนแบบนี้ถ้าสร้างสูงจะดีเนื่องจาก อากาศภายในโรงเรือนจะเย็นสบาย แต่ถ้าสร้างต่ำหรือเตี้ยเกินไปจะทำให้อากาศภายในโดยฌฉพาะตอนบ่ายร้อนอบอ้าว อากาศร้อนจะไม่ช่องระบายออก ด้านบนหลังคา
  • แบบจั่วสองชั้น เป็นแบบที่นิยมสร้างกันทั่วไป มีความปลอดภัยจากแสงแดดและฝนมาก อากาศภายในโรงเรือนมีการระบายถ่ายเทได้ดี แต่ราคาค่า ก่อสร้างจะสูงกว่าสามแบบแรก แต่ก็นับว่าคุ้มค่า ข้อแนะนำก็คือ ตรงจั่วบนสุด ควรให้ปีกหลังคาบนยื่นยาวลงมาพอสมควร ทั้งนี้เพื่อป้องกันฝนสาดเข้า ในช่องจั่ว ในกรณีที่ฝนตกแรง ทำให้คอกภายในชื้นแฉะ โดยเฉพาะลูกสุกรจะเจ็บป่วย เนื่องจากฝนสาดและทำให้อากาศภายในดรงเรือนมีความชื้นสูง
  • แบบจั่วสองชั้นกลาย มีคุณสมบัติคล้าย ๆ กับแบบจั่วสองชั้น หลังคาโรงเรือนแบบนี้ เพื่อต้องการขยายเนื้อที่ในโรงเรือนให้กว้างใหญ่ขึ้น และจะดี ในแง่ป้องกันฝนสาดเข้าในช่องจั่วของโรงเรือน

4.วัสดุที่ใช้มุงหลังคา ขึ้นอยู่กับงบการลงทุน วัสดูที่ใช้ เช่น กระเบื้อง อะลูมิเนียม สังกะสี แฝก และจาก เป็นต้น

5.ความสูงและความกว้างของโรงเรือน ถ้าโรงเรือนสูงและกว้างจะมีส่วนช่วยให้โรงเรือนเย็นสบาย ถ้าเลี้ยงสุกรขุนมักจะสร้างคอกเป็น 2 แถว มีทางเดิน อยู่ตรงกลาง ขนาดของคอก ด้านหน้ากว้าง 4 เมตร ยาวไปด้านท้ายคอก 3.5 เมตร (ขังสุกรขุนคอกละ 8-10 ตัว) หลังคาจั่ว 2 ชั้น ควรสูงประมาณ 8 เมตร ความยาวของโรงเรือนตามความเหมาะสม 20-100 เมตร

6.พื้นคอก โดยทั่วไปสร้างโรงเรือนเลี้ยงสุกรดวยพื้นคอนกรีต ซึ่งจะประหยัดเงินลงทุน ยกเว้นถ้าจะสร้างโรงเรือนสุกรพ่อแม่พันธุ์ อาจจะเป็นพื้นสองชั้น หรือเรียกว่าพื้นสแล็ต (พื้นสแล็ตสำเร็จรูปเป็นแผ่นมีรูเป็นช่อง ๆ สำหรับให้น้ำไหลจากพื้นชั้นบนลงไปพื้นชั้นล่าง) ใช้งบลงทุนมาก แต่จะสะดวกในการ จัดการดูแลสุกรพ่อแม่พันธุ์ และแม่สุกรเลี้ยงลูก

7.ผนังคอก ทั่วๆ ไป มักใช้อิฐบล๊อค แป๊บน้ำ ลวดถัก ไม้ขนาด 1.5 นิ้วx 3 นิ้ว ความสูงของผนังคอกจะสูงประมาณ 1 เมตร ถ้าเป็นสุกรพ่อพันธุ์ควร สูง 1.2 เมตร

 

การสร้าง โรงเรือน สุกร แบบทั่วไป เพื่อความสะดวกในการจัดการฟาร์ม โดยการสร้างโรงเรือนที่ดีนั้นนอกจากจะมีทุนแล้วยังต้องมีความรุ้และความเข้าใจเกี่ยวกับดครงสรา้ง อีกทั้งยังต้องศึกษาพฤติกรรมของสุกรว่ามีการเป็นอยู่อย่างไร และตั้งวัตถุประสงค์ในการเลี้ยงเพื่อที่จะได้โรงเรือนในการเลี้ยงสุกรที่ดีในฟาร์ม และยังทำให้สุกรนั้นอยุ่อาศัยได้อย่างสะดวกสบาย สุกรแฮปปี้ คนก็แฮปปี้

 

ดูบทความอื่นที่น่าสนใจได้ที่ https://famertools.com/

 

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here