รูปแบบ โรงเลี้ยงไก่ไข่ โครงสร้างแข็งแรง มีหลายรูปแบบให้เลือก

0
2871

รูปแบบ โรงเลี้ยงไก่ไข่ โครงสร้างแข็งแรง มีหลายรูปแบบให้เลือก โดยจะต้องมีวิธีการในการสร้างอย่างถูกต้องเพื่อให้ได้โรงเลี้ยงไก่ไข่ที่แข็งแรง ทนทาน มีอายุในการใช้งานได้ยาวนาน โดยผู้เลี้ยงบางท่านอาจมีการจำกัดงบเพื่อการประกยัดต้นทุนการสร้าง และสามารถนำต้นทุนที่เหลือไปเป็นค่าใช้จ่ายในส่วนอื่นก็ทำได้ ตามความต้องการของผู้เลี้ยงแต่ละคน ถ้าอยากรู้แล้วว่าจะมีรูปแบบไหนบ้าง ไปติดตามกันได้เลย

ทำไมต้องมีโรงเลี้ยงไก่ไข่

การเลี้ยงไก่ไข่นั้นก็มีการเลี้ยงหลายลักษณะจะเป็นแบบปล่อยอิสระ หรือพื้นคอกก็ได้ แต่จะต้องมีพื้นที่กำกับไว้ให้ เพื่อให้ไก่ได้มีที่พักอาศัยและสามารถออกไข่ได้ และช่วยในเรื่องป้องกันสภาพอากาศที่ไม่เป็นใจอย่างฝน พายุ หรืออากาศหนาว อีกทั้งยังสามารถป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับไก่ไข่ได้

พันธุ์ไก่ไข่

พันธุ์ไก่ไข่นั้นมีหลากหลายสายพันธุ์ แต่สายพันธุ์ที่เกษตรนิยมนำมาเลี้ยงนั้นจะมีดังนี้

1.ไก่โรดไทย (Rhode Thai)

เป็นไก่กึ่งเนื้อกึ่งไข่ ที่ถูกปรับปรุงสายพันธุ์ จนมีหงอนแบบ หงอนจักรขนาดกลาง มีรูปร่างค่อนข้างยาวและลึก เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนทั่วไปตามลําตัวมีสีน้ำตาลแดงเข้ม ขนปีกขนหางมีสีดําเหลือบเขียว ผิวหนังและหน้าแข้งมีสีเหลืองจัด ปากมีสีแดงเหลือง ตาสีแดง หงอนจักร 5 แฉก แผ่นหูมีสีแดง เปลือกไข่มีสีน้ำตาล ขนาดไข่ใหญ่ปานกลาง สามารถเลี้ยงเพื่อใช้ประโยชน์ได้ทั้งเนื้อและไข่ ลักษณะประจำพันธุ์คือ มีขนสีน้ำตาลอ่อนถึงสีน้ำตาล เปลือกไข่สีน้ำตาล ให้ไข่ฟองแรกได้เมื่ออายุประมาณ 168 วัน อัตราการให้ไข่ 94% ผลผลิตประมาณ 240 ฟองต่อตัวต่อปี

2. ไก่ไข่ไทยกรมปศุสัตว์ (DLD Layer Hen)

มีลักษณะประจำพันธุ์คือ ขนสีน้ำตาลอ่อนถึงสีน้ำตาลเข้ม ขนปีกสีน้ำตาล สร้อยคอสีน้ำตาลเข้ม หงอนจักรใหญ่สีแดงสด เหนียงสีแดงใหญ่ ตุ้มหูแดงมีสีขาวปนเล็กน้อย ผิวหนังและแข้งมีสีเหลือง ปลายหางมีสีดำ เปลือกไข่สีน้ำตาลอ่อน ให้ไข่ฟองแรกเมื่ออายุ 169 วัน ผลผลิตประมาณ 290 ฟองต่อตัวต่อปี

3. ไก่ไข่เล็กฮอร์นขาวหงอนจักร  (Single Comb White Leghorn)

เป็นไก่พันธุ์แท้ มีลักษณะประจำพันธุ์คือ มีขนาดเล็ก ขนสีขาว เปลือกไข่สีขาว ไข่ดก ให้ไข่เร็ว เริ่มให้ไข่ได้เมื่ออายุ 4 เดือนครึ่ง ถึง 5 เดือน ผลผลิตประมาณ 300 ฟองต่อตัวต่อปี 

ระบบการเลี้ยงไก่ไข่

ระบบกรงตับ

โรงเลี้ยงไก่ไข่

ระบบการเลี้ยงไก่ไข่ยืนโรงบนกรงตลอดเวลาในพื้นที่ที่จำกัด มีความแคบ และไก่ม่สามารถแสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติได้

ระบบขังคอก

โรงเลี้ยงไก่ไข่

ระบบการเลี้ยงไก่ไข่ที่ปล่อยในพื้นภายในตลอดเวลา ไม่ได้ออกไปไหน ระบบนี้จะทำให้ไก่ไข่เครียดและออกไข่ได้น้อย

ระบบปล่อยอิสระ 

โรงเลี้ยงไก่ไข่

ระบบการเลี้ยงไก่ไข่ที่สามารถออกนอกดรงเลี้ยงได้อย่างอิสระ เพื่อให้ไก่ไข่ได้แสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติ ไก่จะมีสุขภาพที่ดีและมีความสุข

ระบบอินทรีย์

โรงเลี้ยงไก่ไข่

การเลี้ยงไก่ไข่ระบบปล่อยแบบอิสระ และเลี้ยงด้วยอาหารอินทรีย์

รูปแบบของ โรงเลี้ยงไก่ไข่

รุปแบบของโรงเลี้ยงไก่ไข่นั้นมีหลายรูปแบบ การจะสร้างแบบใดนั้นขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์รูปแบบของการเลี้ยง ความยากง่าย ทุน และวัสดุอุปกรณ์ที่มีอยู่ในท้องถิ่นนั้นๆ แต่โดยทั่วไปแล้วโรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่เท่าที่มีการจัดสร้างในประเทศไทยมีรูปแบบต่างๆ กัน ดังนี้

1.แบบเพิงหมาแหงน

จัดเป็นโรงเรือนที่สร้างได้ง่ายที่สุด เพราะไม่สลับซับซ้อน ลงทุนน้อย แต่มีข้อเสีย คือ ถ้าหันหน้าของโรงเรือนเข้าในแนวทางของลมมรสุม ฝนจะสาดเข้าไปในโรงเรือนได้ โรงเรือนแบบนี้ไม่ค่อยมีความทนทานเท่าที่ควร เนื่องจากจะถูกฝนและแดดอยู่เป็นประจำ

2.แบบหน้าจั่ว

การสร้างโรงเรือนแบบนี้จะสร้างยากกว่าแบบแรก ทั้งนี้เพราะต้องพิถีพิถันในการจัดสร้างมากขึ้น รวมถึงความประณีตด้วย ดังนั้น ค่าวัสดุอุปกรณ์และค่าแรงงานในการก่อสร้างจึงสูงกว่าแบบแรก แต่โรงเรือนแบบนี้มีข้อดีคือ สามารถป้องกันแดดและฝนได้ดีกว่าแบบเพิงหมาแหงน

3.แบบจั่วสองชั้น

ลักษณะของโรงเรือนแบบนี้จะสร้างได้ยากกว่าสองแบบแรก แต่มีข้อดีคือ อากาศภายในโรงเรือนแบบนี้จะเย็นกว่าสองแบบแรกมาก ทั้งนี้เพราะจั่วสองชั้นจะเป็นที่ระบายอากาศร้อนได้ดี ทำให้ไก่อยู่ได้อย่างสบายโดยไม่เกิดความเครียด

4.แบบหน้าจั่วกลาย

โรงเรือนแบบนี้มีคุณสมบัติดีกว่าแบบเพิงหมาแหงน กันฝนได้ดีมากขึ้น แต่ค่าก่อสร้างจะสูงกว่าแบบเพิงหมาแหงน

5.แบบเพิงหมาแหงนกลาย

ลักษณะของโรงเรือนแบบนี้จะดีกว่าแบบเพิงหมาแหงนและแบบหน้าจั่ว ทั้งนี้เพราะมีการระบายอากาศร้อน กันฝนกันแดดได้ดีกว่าและข้อสำคัญคือ ค่าก่อสร้างจะถูกกว่าแบบหน้าจั่วกลาย

6.หน้าจั่วสองชั้นกลาย

ลักษณะเหมือนโรงเรือนหน้าจั่วสองชั้นแต่มีการเพิ่มเติมหรือต่อเติมตัวอาคารให้มีพื้นที่การใช้สอยเพิ่มขึ้น

แหล่ที่มา : Rakbankerd

การเลี้ยงไก่ไข่แบบโรงเลี้ยง

โรงเลี้ยงไก่ไข่ต้องมีความแข็งแรง ทนทาน ป้องกันลม กันแดด กันฝน รวมถึงสัตว์อื่น ๆ เช่น นก แมว หนู และสุนัขได้ ทำความสะอาดง่าย อยู่ห่างจากชุมชนเพื่อป้องกันกลิ่นเหม็นรบกวน โครงสร้างควรเป็นคอนกรีต มีวัสดุรองพื้นคอก เช่น แกลบหนา 3-5 นิ้ว และควรมีรังไข่ 1 ช่อง ต่อแม่ไก่ 4 ตัว และประตูเข้า-ออก 2 ด้าน เพื่อหมุนเวียนปล่อยไก่ออกสู่แปลงอิสระ ทั้งนี้ หากมีโรงเรือนมากกว่า 1 หลัง แต่ละหลังควรเว้นระยะห่างกันมากกว่า 10 เมตร เพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวกและป้องกันการแพร่ระบาดของโรค 

สำหรับอาหารและน้ำ

ในช่วงที่ยังเป็นลูกไก่ ควรได้รับอาหารที่มีโปรตีนสูง กินแบบเต็มที่ โดยให้ครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อยครั้ง ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้ลูกไก่ได้กินอาหารสดใหม่ และกระตุ้นการกินอาหารได้มากขึ้น อาหารของไก่ไข่จะต้องปลอดสารเคมีที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย และไม่มียาปฏิชีวนะ และการให้น้ำแก่ไก่ไข่นั้นจะต้องเป้น้ำที่สะอาด ให้กินอย่างสม่ำเสมอและเพียงพอ อุปกรณ์การให้อาหารและน้ำจะต้องมีการทำความสะอาดทุกวันเพื่อไม่ให้เกิดสิ่งเจือปนในอาหารที่ก่อให้เกิดอันรายต่อร่างกายไก่ไข่ได้

บทสรุป

การมีโรงเลี้ยงไก่ที่เหมาะกับวัตถุประสงค์ในการเลี้ยงนั้นก็ถือว่าต้องทำการศึกษาอย่างมาก เพื่อให้สามารถเลี้ยงไก่ไข่ให้ออกผลผลิตได้ดี ซึ่งรูปแบบของโรงเลี้ยงไก่ที่เรานำมานั้นมีหลากหลายรูปแบบให้ได้เลือก ตามต้นทุนและความเหมาะสมในพื้นที่ที่จำกัด อีกทั้งยังมีโครงสร้างที่แข็งแรงตรงตามมาตรฐานในเรื่องของการกันแดด กันฝนได้ดี ซึ่งก็แล้วแต่ว่าผู้เลี้ยงจะมีการออกแบบโรงเลี้ยงไก่ไข่ให้เหมะาสมกับจำนวนไก่ที่เลี้ยงอย่างไร

ดูบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจได้ที่ https://famertools.com/

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here