การดูแลรักษา และฟาร์มวัวที่ดีมีอะไรบ้าง

0
2535
การดูแลรักษาฟาร์มวัว

ฟาร์มวัว เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่ต้องการ การดูแลรักษาฟาร์มวัว การเอาใจใส่จากเกษตรกรผู้เลี้ยงวัว ไม่ว่าจะเป็นฟาร์มวัวนม หรือ ฟาร์มวัวเนื้อ ต่างก็ต้องมีความสะอาดไม่แพ้กัน เพื่อช่วยให้วัวมีสุขภาพจิตที่ดี ไม่เครียด ส่งผลให้วัวกินอาหารได้ดี อันจะมีผลทำให้ร่างกายของ วัวมีความสมบูรณ์ และ มีอารมณ์ที่ดี ทำให้เมื่อถึงเวลาที่ต้องขาย วัวที่มีความสมบูรณ์มากที่สุด มักถูกเลือกเป็นลำดับต้นๆ การดูแลรักษาฟาร์มวัว จึงเป็นสิ่งสำคัญลำดับแรก ของฟาร์ม โคนมเช่นนั่นเอง

การดูแลรักษาฟาร์มวัว

ฟาร์มวัวทำไมต้องได้รับการเอาใจใส่

ฟาร์มวัว ฟาร์มสัตว์อีกหนึ่งประเภท ในประเทศไทยที่ มีข้อกำหนดว่า ต้องมีความสะอาดได้มาตรฐาน สำหรับกำหนดให้เกษตรกรผู้เลี้ยงวัว ได้คำนึงในเรื่องของการสร้างโรงเรือน หรือ ฟาร์มวัวเป็นสิ่งแรกในการสร้างโรงเรือน รวมทั้งมาตรฐาน ในการผลิตน้ำนมดิบ  ซึ่งการกำหนดมาตรฐานขึ้นมานี้นั้น  เพื่อให้ฟาร์มวัวที่ต้องการลงทะเบียน เพื่อขอใบรับรองจากกรมปศุสัตว์ว่า ฟาร์มของเรามีมาตรฐานทุกด้าน ทั้งความสะอาด และ การผลิตน้ำนม หรือ การให้อาหารที่มีมาตรฐานใช้กันอยู่โดยทั่วไป

ฟาร์มวัวคืออะไร

ฟาร์มวัวหรือฟาร์มเพาะเลี้ยงวัว ใช้สำหรับการดูแลวัว ซึ่งมีทั้งฟาร์มวัวนม ฟาร์มวัวเนื้อ

สำหรับฟาร์มวัวนม จะมีการผลิตน้ำนมดิบ คือ ต้องได้รับการผลิตนมอย่างมีประสิทธิภาพ ได้นมที่บริสุทธิ์คุณภาพสูงตามความต้องการของผู้บริโภค และสามารถทำรายได้ดีให้กับเกษตรกร

การดูแลรักษาฟาร์มวัว

องค์ประกอบของฟาร์มวัวที่ต้องรู้  มีดังนี้

  • 1. ทำเลที่ตั้งของฟาร์มวัว
  • 2. ลักษณะของฟาร์มวัว
  • 3. ลักษณะโรงเรือน โรงเรือนที่ใช้เลี้ยงวัวควรมีขนาดที่เหมาะสมกับจำนวนวัวที่เลี้ยง ถูกสุขลักษณะและอยู่สุขสบาย
  • 4. การจัดการฟาร์มวัว ควรมีสถานที่ เก็บอาหารสัตว์แยกต่างหาก กรณีมีวัตถุดิบเป็นวิตามิน ต้องเก็บในห้องปรับอากาศ ห้องเก็บอาหารสัตว์ต้อง สามารถรักษาสภาพของอาหารสัตว์ไม่ให้เปลี่ยนแปลง สะอาด แห้ง ปลอดจากแมลงและสัตว์ต่างๆ ควรมีแผงไม้รองด้านล่างของภาชนะบรรจุอาหารสัตว์
  • 5. การจัดการด้านสุขภาพสัตว์
  • 6. การจัดการสิ่งแวดล้อม สิ่งปฏิกูลต่างๆ รวมถึงขยะ ต้องผ่านการกำจัดอย่างเหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อผู้อยู่อาศัยข้างเคียง

องค์ประกอบของการสร้างฟาร์มวัว หรือ โรงเรือนเลี้ยงวัวเหล่านี้ เพื่อให้วัวมีความสุข สะดวกสบายมากที่สุดกับการดำรงชีวิต และ ยังส่งต่อสู่การให้เนื้อ และ นมที่ดีของวัวด้วย ซึ่งก่อนการสร้างโรงเรือน หรือ ฟาร์มวัว ควรเลือกสถานที่ให้มีความเหมาะสมกับการเลี้ยงวัว เพื่อให้วัวได้รับการดูแลอย่างดี และ ถูกต้องที่สุดจากผู้เลี้ยง เพื่อการส่งออกวัวเนื้อ และ วัวนมสู่ตลาดโลก

การดูแลรักษาฟาร์มวัว

ฟาร์มวัวที่ได้มาตรฐานย่อมได้รับประโยชน์นานับประการ ดังต่อไปนี้

  • 1. การเคลื่อนย้ายสัตว์ ผู้ประกอบการฟาร์มเลี้ยงวัวนมสามารถขออนุญาตเคลื่อนย้ายสัตว์ เข้าในหรือผ่านเขตปลอดโรคระบาดได้จากปศุสัตว์จังหวัด โดยปฏิบัติตามระเบียบกรมปศุสัตว์ว่าด้วยการนำเข้าหรือการเคลื่อนย้ายสัตว์หรือซากสัตว์ภายในราชอาณาจักร
  • 2. กรมปศุสัตว์จะจัดสรรวัคซีน ให้มีจำหน่ายอย่างเพียงพอตามปริมาณสุกร ของฟาร์มเลี้ยงสุกรมาตรฐาน
  • 3. กรมปศุสัตว์จะ ให้บริการการทดสอบโรคแท้งติดต่อวัณโรคในวัวนม โดยไม่คิดมูลค่าสำหรับฟาร์มที่ได้มาตรฐาน
  • 4. กรมปศุสัตว์จะ ให้บริการตรวจวินิจฉัยและชันสูตรโรคสัตว์ โดยไม่คิดมูลค่าสำหรับตัวอย่างที่ ส่งตรวจจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์มาตรฐาน

  ทั้ง 4 ประการนี้  คือ ประโยชน์ที่ได้รับจากการ สร้างฟาร์มวัวที่ได้มาตรฐาน ตามเงื่อนไขของกรมปศุสัตว์ เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิต่าง ๆ ที่เกษตรกรผู้มีฟาร์มวัว ควรจะได้รับจากการสร้างสรรค์ และ ส่งเสริมจนเกิดเป็นรูปเป็นร่างไห้ทุกคนได้เห็นถึง ความเป็นมาตรฐานของการทำฟาร์มวัว

การดูแล

เกษตรกรที่ต้องการประสบความสำเร็จจากการทำ ฟาร์มวัว ไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงโคเนื้อหรือโคนม มี องค์ประกอบของ ปัจจัยแห่งความสำเร็จ  คือ การมีความรู้ความเชี่ยวชาญในการดูวัว  เพื่อให้ ได้วัวที่มีลักษณะดีสามารถขายได้ในราคาที่สูง นอกจากนี้อาจมีการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกร ภายในท้องถิ่นที่อาจรวมตัวกัน เพื่อการประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการทำฟาร์มวัว จนก่อเกิดการมีความสามัคคีในกลุ่ม ซึ่งเป็นพลังขับเคลื่อน เมื่อกิจกรรมภายในกลุ่มให้บรรลุเป้าหมาย มีการบริหารจัดการโรงเรือนที่ดี และ รู้จักทำบัญชีรายรับ  รายจ่าย เพื่อที่ทุกคนจะได้ทราบถึงต้นทุนที่ใช้ในการผลิต  นำไปสู่การบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ

การดูแล

อย่างไรก็ตามผู้ที่ต้องการทำ  ฟาร์มวัว แบบจริงจัง  ยึดเป็นอาชีพหลัก  อันดับแรกต้องมีใจรักในอาชีพเลี้ยงวัว ซึ่งเกษตรกรผู้เลี้ยงวัวส่วนใหญ่นั้น  มักมีองค์ความรู้เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว   ทั้งนี้อาจขอคำปรึกษา จากปราชญ์ชาวบ้าน หรือ เจ้าหน้าที่รัฐที่มีส่วนผลักดัน และ ก่อให้เกิดการเกษตรที่ยั่งยืนต่อไปได้  ด้วยการจัดทัศนศึกษา พาเกษตรกรไปชม องค์ความรู้ที่มีความหลากหลาย ในหลายสถานที่ ที่มีความเกี่ยวข้องกับการทำฟาร์มวัว ซึ่งเกษตรกรผู้เลี้ยงวัวตั้งแต่รายย่อย ถึงรายใหญ่อาจจะได้รับความรู้ทางวิชาการเพิ่มเติม จนสามารถเพิ่มมูลค่าของสินค้าได้ อาชีพทางการเกษตรโดยเฉพาะ อย่างยิ่งอาชีพเลี้ยงวัว  หรือทำฟาร์มวัว จึงถือเป็นอีกหนึ่งอาชีพในการสร้างรายได้  จนทำให้เกษตรกรมีหลักฐานที่มีความมั่นคงไปด้วยได้ เป็นอย่างดี  ทั้งยังก่อให้เกิดเม็ดเงินแบบก้าวกระโดดในทุกครัวเรือนที่ได้มีการรวมกลุ่มกันทำฟาร์มวัว  เนื่องจากการรวมกลุ่มกันนี้ สามารถส่งเสริมการมีชีพได้หลายอาชีพ  เช่น  การนำสินค้าจากในฟาร์มมาจำหน่าย  ซึ่งในฟาร์มวัวอาจทำเป็นการเกษตรแบบผสมผสานก็ได้  และนำผลผลิตทางการเกษตรมาแบ่งขายหากเหลือจากการแจกกันภายในกลุ่มแล้ว  ซึ่งถือเป็นการสร้างรายได้ที่ดีให้กับชุมชนและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับคนระดับรากหญ้าอย่างมั่นคง

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here